ธรรมาภิบาลการลงทุน

Investment Government Code

ประกาศรับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน

(Investment Governance Code : I Code)

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารจัดการลงทุน ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องบริหารจัดการเงินลงทุน เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าของบริษัทและด้วยหน้าที่ดังกล่าว บริษัทเชื่อว่าการที่กิจการที่บริษัทเข้าไปลงทุนมีกลยุทธ์ และมีผลการดำเนินงานที่ดีจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนของลูกค้า

ด้วยการลงท้ายหนังสือนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ขอประกาศความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามธรรมาภิบาลการลงทุนที่ออกโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (Fiduciary duty) และบทบาทหน้าที่ของบริษัท ดังต่อไปนี้

1. จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร

2. มีการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

3. มีกระบวนการหรือดูแลบริษัทจัดการในการตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ (Actively) โดยมีประเด็นเรื่องกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี

4. มีการเพิ่มระดับการติดตามบริษัทที่จะลงทุน กรณีเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติข้อ 3 ไม่เพียงพอ

5. จัดให้มีการเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียงต่อลูกค้าว่า บริษัทไม่มีนโยบายในการใช้สิทธิออกเสียงแทนลูกค้า และบริษัทได้แจ้งและทำความเข้าใจกับลูกค้าโดยระบุไว้ในสัญญารับจัดการลงทุนกองทุนส่วนบุคคล และหน้าเว็บไซต์ของบริษัท แต่บริษัทจะแจ้งกำหนดการประชุมดังกล่าวให้ลูกค้าได้รับทราบตามช่องทางที่ได้ตกลงกันไว้

6. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติตาม I Code เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

7. เปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในเว็บไซต์ตามแนวทางที่ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร. วีรกร อ่องสกุล

ประธานกรรมการ

วันที่ 16 กันยายน 2563

นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน

(Investment Government Code Policy : I code Policy)

บทนำ

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด (“บริษัท”) ในฐานะผู้ลงทุนสถาบันที่รับจัดการเงินลงทุนให้กับลูกค้า ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการมีหลักธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I Code) จึงขอประกาศความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ที่ออกโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (Fiduciary Duty) และบทบาทหน้าที่ของบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน โดยบริษัทได้คํานึงถึงประโยชน์ของผู้ลงทุนเป็นสําคัญ จึงได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ให้ความสําคัญในการสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรมการลงทุนที่มีหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (I Code Policy) โดยครอบคลุมหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้


หลักปฏิบัติที่ 1 กำหนดนโยบายและโครงสร้างธรรมาภิบาลการลงทุนที่ชัดเจน

1. คณะกรรมการบริษัทอนุมัตินโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และมอบหมายให้ฝ่าย Compliance & Internal Audit รายงานผลการปฏิบัติตามนโยบาย I Code ให้คณะกรรมการบริษัททราบ รวมทั้ง จัดให้มีการพิจารณาทบทวนนโยบายปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ หรือเมื่อมีเหตุการณ์สําคัญ (Material Event)

2. กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลที่เป็นอิสระและไม่มีประโยชน์ขัดหรือแย้ง (bias) กับประโยชน์ของลูกค้า และมีการประเมินทบทวนเป็นประจำทุกปี โดยผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท

3. บริษัทกําหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีกระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีการตัดสินใจ และติดตามการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

4. เพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า บริษัทจึงมีการกําหนด

มาตรการให้มีการลงทุนโดยการใช้เทคโนโลยีของจิตตะ ช่วยในการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ รวมทั้งมีการใช้นโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมเพียงพอ

5. มีมาตรการจัดการกับการใช้ข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของบริษัทที่ลงทุนที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ และป้องกันพฤติกรรมการลงทุนที่ก่อให้เกิดการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ และการฟอกเงินที่เหมาะสม

6. บริษัทได้จัดทำนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน และกําหนดให้มีการสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรมการลงทุนที่มีธรรมาภิบาล รวมทั้ง มีการเผยแพร่นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงทุนทั้งภายในและภายนอกบริษัทได้รับทราบ

หลักปฏิบัติที่ 2 มีการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอ เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

1. บริษัทกําหนดให้มีนโยบายในการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษร

2. บริษัทกําหนดระบบงานและมาตรการ ตลอดจนแนวปฏิบัติเพื่อป้องกัน และจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีมาตรการรองรับการชี้เบาะแสและตรวจสอบลงโทษ

3. บริษัทมีการสื่อสารให้พนักงานที่ปฏิบัติงานทราบและกําหนดให้มีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการ ตลอดจนทบทวนความเหมาะสมของมาตรการ

4. บริษัทจัดให้มีการสื่อสารกับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการนั้น และมีมาตรการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเหมาะสม

หลักปฏิบัติที่ 3 ตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์

⁠⁠1. บริษัทจัดให้มีกระบวนการติดตามการดําเนินงานของบริษัทที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบการ ดําเนินงานของบริษัทที่ลงทุนและรู้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นและทันเหตุการณ์

2. บริษัทกําหนดปัจจัยในการพิจารณาบริษัทที่ลงทุน โดยพิจารณาคุณค่าของบริษัทที่ลงทุนด้วยเทคโนโลยีของบริษัทที่มีความทันสมัย และมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมเพียงพอ

3. บริษัทจัดให้มีการติดตามบริษัทที่ลงทุนเพื่อให้สามารถติดตามการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

4. กรณีที่พบว่า บริษัทที่ลงทุนมีสัญญาณของปัญหาที่อาจส่งผลต่อมูลค่าการลงทุน บริษัทจะพิจารณาดําเนินการตามความเหมาะสม

หลักปฏิบัติที่ 4 เพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุนเมื่อเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติที่ 3 ไม่เพียงพอ

1. บริษัทจัดให้มีแนวปฏิบัติที่ระบุถึงเหตุการณ์ และแนวทางที่จําเป็นในการเข้าไปดําเนินการกับบริษัทที่ลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถติดตามได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม

2. บริษัทกําหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ควรเข้าไปดําเนินการกับบริษัทที่ลงทุนเพิ่มเติม โดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ ผลประกอบการ การจัดการกับความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงความเชื่อมั่นในการบริหารกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

3. ในเหตุการณ์ที่บริษัทพบว่า บริษัทที่ลงทุนมีประเด็นที่ควรตระหนักถึงในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การจัดการกับความเสี่ยง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นอื่นใดที่บริษัทคาดว่ามี ผลกระทบต่อกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาวของบริษัทที่ลงทุน หรือในกรณีที่มีข่าวหรือเหตุการณ์ว่า มีประเด็นที่เกี่ยวกับผลประกอบการ เช่น ตกแต่งงบการเงิน (fraud) ฝ่ายการจัดการลงทุน (Investment) จะทำการติดตามอย่างใกล้ชิด และหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์นั้น โดยจะไม่ลงทุนเพิ่มเติมให้กับลูกค้า หรือหากจำเป็นก็จะขายหลักทรัพย์ทันที

หลักปฏิบัติที่ 5 เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง

บริษัทกําหนดนโยบายไม่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น และไปใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ ตามที่ระบุไว้ในในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคลว่า “บริษัทไม่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าให้ใช้สิทธิออกเสียงแทน” และได้มีการอธิบาย และแจ้งรายละเอียดผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งให้ลูกค้ารับทราบตามวิธีที่ตกลงกัน นอกจากนี้ บริษัทยังได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงช่องทางในการติดตามและดูรายละเอียดการประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ผ่านทางรายงานประจำเดือน อีกด้วย

หลักปฏิบัติที่ 6 ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นและผู้มีส่วนได้เสีย(stakeholders) ตามความเหมาะสม

บริษัทกำหนดให้มีการดำเนินการกับกิจการที่ลงทุนที่มีข้อกังวลและยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลังจากเพิ่มระดับในการติดตามได้ บริษัทอาจมีการร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่น (ทั้งในและต่างประเทศ) หรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการหากเห็นสมควร เพื่อให้กิจการที่ลงทุนเห็นความสำคัญของประเด็นข้อกังวลของบริษัทและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

หลักปฏิบัติที่ 7 เปิดเผยธรรมาภิบาลการลงทุน และการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

1. บริษัทกําหนดให้มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่เหมาะสม และมีกลไกที่ดูแลให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อลูกค้าถูกต้อง ไม่ทําให้สําคัญผิด และสร้างความน่าเชื่อถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

2. บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน รายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายให้ลูกค้าทราบ โดยผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท

3. บริษัทจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงาน และฝ่ายตรวจสอบภายใน เป็นประจำทุกปี และรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานดังกล่าวให้คณะกรรมการบริษัททราบ

ทั้งนี้ บริษัทขอประกาศใช้นโยบายธรรมาภิบาล (Investment Governance Code Policy - I Code Policy (Version 1.1.0 )) ลงวันที่ 26 เมษายน 2566 ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2566

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด

รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ประจำปี 2563
⁠รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ประจำปี 2564
⁠⁠รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ประจำปี 2565

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด