ค่าธรรมเนียม

ได้ผลตอบแทนสูงกว่า ด้วยค่าธรรมเนียมที่ยุติธรรม

Jitta Wealth เกิดขึ้นได้เพราะความไว้วางใจที่คุณมอบให้เรา จึงถือเป็นหน้าที่ของ Jitta Wealth ที่นอกจากจะต้องบริหารเงินลงทุนของคุณให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดแล้ว ยังต้องส่งต่อกำไรนั้นให้คุณอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยด้วย  

นั่นเป็นที่มาของค่าธรรมเนียมที่ต่ำและยุติธรรมของเรา Jitta Wealth เน้นคิดค่าธรรมเนียมตามกำไร ซึ่งจะมีก็ต่อเมื่อเราทำกำไรให้คุณได้เท่านั้น คุณจึงไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนี้เลยหากปีไหนพอร์ตขาดทุน นอกจากนี้ก็มีค่าการจัดการเพียงเล็กน้อย ที่จะช่วยให้ขั้นตอนต่างๆ สะดวกรวดเร็วที่สุดสำหรับคุณ พร้อมด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ของทางโบรกเกอร์ (brokerage fee) และค่าธรรมเนียมรับฝากสินทรัพย์ของทางผู้รับฝากสินทรัพย์ (custodian fee)   

คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตารางค่าธรรมเนียมด้านล่างนี้

ค่าธรรมเนียม
Jitta Ranking
ไทย
Jitta Ranking
สหรัฐอเมริกา
Jitta Ranking
เวียดนาม
Jitta Ranking
จีน
Jitta Ranking
ญี่ปุ่น*
Jitta Ranking
ฮ่องกง
ค่าใช้จ่ายเรียกเก็บโดย Jitta Wealth
ค่าธรรมเนียมการจัดการ
(Management Fee)
0.50%0.50%0.50%0.50%0.50%0.50%
ค่าธรรมเนียมตามกำไร
(Performance Fee)
10%10%10%10%10%10%
ค่าใช้จ่ายทั่วไป
ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน
(Custodian Fee)[1]
0.1% หรือขั้นต่ำ ฿80 ต่อเดือน0.1% หรือขั้นต่ำ ฿80 ต่อเดือน0.1% หรือขั้นต่ำ ฿80 ต่อเดือน0.1% หรือขั้นต่ำ ฿80 ต่อเดือน0.1% หรือขั้นต่ำ ฿80 ต่อเดือน0.1% หรือขั้นต่ำ ฿80 ต่อเดือน
ค่าธรรมเนียมโอนเงินระหว่างประเทศ-ขาไป ฿500 ต่อครั้ง
ขากลับ ฿1,000 ต่อครั้ง
ขาไป ฿500 ต่อครั้ง
ขากลับ ฿1,000 ต่อครั้ง
ขาไป ฿500 ต่อครั้ง
ขากลับ ฿1,000 ต่อครั้ง
ขาไป ฿500 ต่อครั้ง
ขากลับ ฿1,000 ต่อครั้ง
ขาไป ฿500 ต่อครั้ง
ขากลับ ฿1,000 ต่อครั้ง
ค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์
(Trading Commission)[2]
0.10%0.20%0.30%0.20%0.20%0.20%
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
(Other Fee) [3]
-0.0008% ของมูลค่าขาย 0.1% ของมูลค่าขาย 0.00987% ของมูลค่าซื้อ
0.1099% ของมูลค่าขาย
0.5% ดอกเบี้ยติดลบต่อปี0.13985% ของมูลค่าซื้อและมูลค่าขาย
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำซื้อขายหลักทรัพย์
(Minimum commission)
-US$6VN₫600,000CN¥100JP¥1,200HK$100
หมายเหตุ
[1] ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ หรือ custodian คือบริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้รับฝากสินทรัพย์ตามกฏหมาย
[2] ค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ (Trading Commission) เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะชำระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการ (ปัจจุบันคือ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) ค่าธรรมเนียมดังกล่าวแตกต่างกันในตลาดหุ้นแต่ละประเทศ
[3] ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ ค่าภาษีธุรกรรม และค่าอากรสแตมป์ ตามที่เรียกเก็บจริง ข้อมูล ณ วันที่ 19 ก.ย. 65
ค่าธรรมเนียมข้างต้น ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะถูกคำนวนในวันที่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
*สำหรับนโยบาย Jitta Ranking ญี่ปุ่น เงินสดคงเหลือจากการซื้อขายในบัญชี จะถูกคิดอัตราดอกเบี้ย -0.5% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามธนาคารในประเทศญี่ปุ่นที่ผู้รับฝากทรัพย์สิน (custodian) ใช้บริการ

ทำไม Jitta Wealth คิดค่าธรรมเนียมต่ำ

ในการลงทุน ค่าธรรมเนียมที่ดูน้อยนิด จะกลืนกินผลกำไรของคุณอย่างมหาศาล Jitta Wealth จึงตั้งปณิธานว่า การบริหารการลงทุนของเราต้องให้คุณได้ผลตอบแทนเต็มที่ แม้หักค่าธรรมเนียมเล็กๆน้อยๆแล้ว ก็ยังสามารถเอาชนะดัชนีตลาดได้ในระยะยาว

ลองจินตนาการดูว่าคุณลงทุนกับ Jitta Wealth 1,000,000 บาท ได้กำไรเฉลี่ย 8% ต่อปีติดต่อกัน 30 ปี และเสียค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ 0.5% พร้อมค่าธรรมเนียมตามกำไร 10% ต่อปี ในปีที่ 30 คุณจะมีเงินทั้งสิ้น 6,900,000 บาท โดยประมาณ

ในขณะเดียวกัน หากคุณลงทุนกับกองทุนที่คิดค่าธรรมเนียมตามกำไรคล้ายๆ Jitta Wealth คือ 10% ต่อปี แถมเริ่มคิดเมื่อกำไรเกิน 6% ขึ้นไป (hurdle rate) แต่คิดค่าธรรมเนียมบริหารจัดการที่ 1.5% ต่อปี

มองดูเผินๆ แล้ว ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการที่เพิ่มขึ้นมา 1% เหมือนจะไม่ส่งผลอะไรมากมาย...

แต่สิ้นปีที่ 30 คุณจะมีเงินรวมประมาณ 6,200,000 บาท น้อยกว่าลงทุนกับ Jitta Wealth เกือบ 1 ล้านบาท

ดังนั้น ตัวช่วยในการลงทุนที่มีค่าธรรมเนียมต่ำเช่น Jitta Wealth นอกจากจะทำให้การลงทุนของคุณได้กำไรโดยที่คุณไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยแล้ว ยังให้คุณรับผลตอบแทนอย่างเต็มที่ เพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคงดังที่คุณวางแผนไว้

วิธีคิดค่าธรรมเนียม
1. ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน (management fee)

ค่าธรรมเนียมอัตรา 0.5% ต่อปีนี้ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริหารเงินลงทุนให้คุณ ช่วยให้ขั้นตอนต่างๆ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว ตั้งแต่การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ไปจนถึงการซื้อขายหุ้น และปรับพอร์ต จะคิดบนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยจะคำนวณเป็นรายวัน โดยใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ สิ้นวันทำการทุกวันเป็นฐานในการคำนวณ (มูลค่าทรัพย์สินสุทธิดังกล่าว จะคำนวณตามเกณฑ์ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด)

รายละเอียดการคำนวณ

NAV 
=    มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันคำนวณ 
MGT Fee
=    อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการต่อปี
t
=    วันที่ T
N
=    จำนวนวันทั้งหมดใน 1 ปี
n
=    จำนวนวันทั้งหมด

ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนเป็นรายวัน

2. ค่าธรรมเนียมในการทำกำไร (performance fee)

เพื่อความยุติธรรม ให้คุณได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากทุกเม็ดเงินลงทุน เราจะคิดค่าธรรมเนียมในการทำกำไร 10% ต่อปี (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากส่วนต่างกำไรที่พอร์ตของคุณทำได้จริง ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปีปฏิทิน หรือเมื่อคุณถอนเงินลงทุน โดยใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (หักค่าธรรมเนียมการจัดการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้ว) เป็นฐานในการคำนวณ

นั่นหมายความว่า เราจะคิดค่าธรรมเนียมนี้ก็ต่อเมื่อเราช่วยให้พอร์ตของคุณทำกำไร และต้องเป็นกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้วเท่านั้น

ส่วนต่างกำไรที่จะนำมาคิดค่าธรรมเนียมตามกำไรนี้ หมายถึง ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินต้น และ/หรือ high watermark (เครื่องหมายระดับสูงสุดของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ) ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเดิมของพอร์ตที่เคยใช้คิดค่าธรรมเนียมตามกำไรไปแล้วในปีก่อนหน้า

รายละเอียดการคำนวณ

(มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ วันคำนวณ- high watermark)x ค่าธรรมเนียมตามกำไรx (1+ ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
High Watermark

คือ จุดที่สูงที่สุดของพอร์ตการลงทุนตั้งแต่เริ่มลงทุนมา วัดจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ณ วันที่คำนวณค่าธรรมเนียม performance fee แต่ละปี (หักค่าธรรมเนียมการจัดการรายปี รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอื่นๆ และค่าใช้จ่ายต่างๆ เรียบร้อยแล้ว)

การกำหนด high watermark มีรายละเอียดที่ต่างกันตามช่วงเวลาดังนี้

  • ปีแรก (ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาเปิดบัญชีกองทุนส่วนบุคคล จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ทำสัญญา) high watermark จะเท่ากับ เงินเริ่มต้นลงทุน
  • ปีต่อๆ ไป (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของแต่ละปี) high watermark จะเท่ากับจุดสูงสุดของพอร์ต ณ วันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ผ่านๆ มา (หักค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

เมื่อคุณถอนเงิน เราจะปรับ high watermark ตามสัดส่วนเงินลงทุนที่ถอนออก แต่ในกรณีที่คุณเพิ่มทุนเข้ามา เราจะคำนวณสัดส่วน high watermark ให้ใหม่ และใช้ high watermark ใหม่นี้คำนวณค่าธรรมเนียมตามกำไรในปีนั้นๆ แทน

ตัวอย่างการคำนวณ

คุณเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินลงทุน 1,000,000 บาท
ปีที่ 1
กำไร
ปีที่ 2
ขาดทุน
ปีที่ 3
กำไร
Aราคาหน่วยลงทุนต้นปี (K ปีก่อนหน้า)10.0010.899.00
Bมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต้นปี (J ปีก่อนหน้า)1,000,000.001,089,300.00900,000.00
Cจำนวนหน่วยลงทุน (C ปีก่อนหน้า)100,000.00100,000.00100,000.00
Dราคาหน่วยลงทุนปลายปี (หลังหักค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ Performance Fee)11.009.0015.00
Eมูลค่าทรัพย์สินสุทธิปลายปี (หลักหักค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ Performance Fee) (C x D)1,100,000.00900,000.001,500,000.00
Fระดับสูงสุดของราคาหน่วยลงทุน (High Watermark) (max(F ปีก่อนหน้า, A))10.0010.8910.89
Gกำไร(ขาดทุน) ส่วนที่เกิน High Watermark ต่อหน่วยลงทุน (D - F)1-1.894.11
Hกำไร(ขาดทุน) ส่วนที่เกิน High Watermark (G x C)100,000.00-189,300.00410,700.00
IPerformance Fee (max(0, 10% x H + vat 7%))10,700.000.0043,944.90
Jมูลค่าทรัพย์สินสุทธิปลายปี (หลังหักค่าใช้จ่าย) (E - I)1,089,300.00900,000.001,456,055.10
Kราคาหน่วยลงทุนปลายปี (หลังหักค่าใช้จ่าย) (J / C)10.899.0014.56
การคำนวณค่าธรรมเนียมกรณีที่มีการเพิ่มหรือถอนเงินลงทุน
  • เมื่อคุณเพิ่มเงินลงทุน เราจะคำนวณค่าธรรมเนียมการจัดการ (management fee) และค่าธรรมเนียมในการทำกำไร (performance fee) เสมือนเป็นเงินเข้าใหม่
  • เมื่อคุณถอนเงินลงทุน เราจะคำนวณเงินที่ถอนออกเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนและผลกำไร เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในการทำกำไร และปรับ high watermark ตามสัดส่วนเงินลงทุนที่ถอนออก
  • หากคุณได้เพิ่มทุนไปหลายครั้ง และตัดสินในถอนเงินลงทุน เราจะคำนวณค่าธรรมเนียมการจัดการ และค่าธรรมเนียมในการทำกำไร โดยใช้หลักเงินลงทุนที่เข้าก่อนออกก่อน (FIFO=First-In First-Out)
3. ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากสินทรัพย์ (custodian fee)

เพื่อให้การบริหารสินทรัพย์มีความโปร่งใส เงินลงทุนของคุณจะอยู่ในความดูแลของผู้รับฝากสินทรัพย์ตามกฎหมาย นั่นคือ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

โดยมีค่าธรรมเนียมรับฝากสินทรัพย์ 0.1% ต่อปี ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ สิ้นวันของแต่ละวัน หรือขั้นต่ำ 80 บาทต่อเดือน ค่าธรรมเนียมจะคำนวณเป็นรายวัน ทดไว้ และรวบยอดเรียกเก็บไตรมาสละครั้ง

หมายเหตุ ตัวอย่างการคำนวณข้อ 1-3 เป็นเพียงการแสดงวิธีคิดเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ค่าธรรมเนียมจริงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไข ของบริษัทฯ
ค่าธรรมเนียมต่ำ เงินโตเร็วกว่า
Jitta Wealth จัดการให้
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด