รายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ประจำปี 2566

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด

ตามที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด (บริษัท) ได้ประกาศเจตนารมณ์รับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I Code) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2563 และได้ปรับปรุงแนวปฏิบัติหลักธรรมาภิบาลการลงทุน เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 บริษัทขอรายงานให้ทราบถึงผลการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนประจำปี 2566 โดยสรุปได้ดังนี้

หลักปฏิบัติที่ 1 โครงสร้างธรรมาภิบาลการลงทุน

1.1 คณะกรรมการของบริษัทอนุมัตินโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และมอบหมายให้ฝ่าย Compliance & Internal Audit รายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายให้คณะกรรมการของบริษัททราบ

ผลการปฏิบัติงาน: คณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่าย Compliance & Internal Audit รายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายภายในปี 2566

1.2 คณะกรรมการบริษัทพิจารณาทบทวนนโยบายปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ หรือเมื่อมีเหตุการณ์สําคัญ (Material Event)

ผลการปฏิบัติงาน: คณะกรรมการได้มีการทบทวนนโยบาย และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนหน้า นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2566 เป็นต้นมา

1.3 บริษัทกําหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีกระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีการตัดสินใจ และติดตามการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทมีการกําหนดให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีกระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีการตัดสินใจ และติดตามการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการคำนวณความเสี่ยง เพื่อคอยดูแลพอร์ทโฟลิโอการลงทุนของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ มีการตรวจสอบความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) และด้านการตลาด (Market Risk)  และพัฒนาปรับปรุงเณฑ์กำหนดข้อจำกัดการซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้าสูงสุด

1.4 เพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า บริษัทมีการกําหนด  มาตรการ ให้มีการลงทุนโดยการใช้เทคโนโลยีของจิตตะ ช่วยในการพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์ รวมทั้งมีการใช้นโยบายและมาตรการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมเพียงพอ

ผลการปฏิบัติงาน: อ้างอิงข้อ 1.3 บริษัทมีการกำหนดและปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดีเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า นอกจากนั้น บริษัทยังมีการตรวจสอบอัลกอริทึมอย่างสม่ำเสมอ มีการทบทวนหลักทรัพย์และแผนการลงทุน เพื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ

1.5 มีมาตรการจัดการกับการใช้ข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของบริษัทที่ลงทุนที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ และป้องกันพฤติกรรมการลงทุนที่ก่อให้เกิดการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ และการฟอกเงินที่เหมาะสม

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบข้อมูลที่มีนัยสำคัญอยู่เสมอเป็นประจำ ตั้งแต่การเปิดบัญชีรับสมัครลูกค้า การเพิ่มทุน ถอนทุน การทำแบบสอบถามความเสี่ยงการลงทุนที่ลูกค้ารับได้ และการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าประจำปี ฯลฯ

1.6 บริษัทกําหนดให้มีการสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรมการลงทุนที่มีธรรมาภิบาล รวมทั้งเผยแพร่นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงทุนทั้งภายในและภายนอกบริษัทได้รับทราบ

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทมีการอบรมพนักงานใหม่ถึงหลักการของการลงทุนที่มีธรรมาภิบาล และมีการเผยแพร่แนวปฏิบัติภายในสื่อขององค์กร รวมถึงมีการสื่อสารถึงผู้ให้บริการภายนอกได้รับทราบและตกลงในหลักการธรรมาภิบาลที่บริษัทยึดถือผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

หลักปฏิบัติที่ 2 มีการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอ เพื่อเป็นประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

2.1 บริษัทกําหนดให้มีนโยบายในการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษร

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทกําหนดให้มีนโยบายในการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์เป็นลายลักษณ์อักษร (Conflict of Interest Policy 2.0.0) ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 26 เมษายน 2566

2.2 บริษัทกําหนดระบบงานและมาตรการ ตลอดจนแนวปฏิบัติเพื่อป้องกัน และจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และมีมาตรการรองรับการชี้เบาะแสและตรวจสอบลงโทษ

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทมีการกำหนดโครงสร้างองค์กร มาตรการ รวมถึงแนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการตรวจสอบระหว่างกัน อีกทั้ง จัดให้พนักงานทุกคนรายงานการถือครองหลักทรัพย์ เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ส่วนตน และมีการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งจัดให้มีการทบทวนสิทธิ์อย่างสม่ำเสมอ

2.3 บริษัทมีการสื่อสารให้พนักงานที่ปฏิบัติงานทราบและกําหนดให้มีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการ ตลอดจนทบทวนความเหมาะสมของมาตรการ

ผลการปฏิบัติงาน: อ้างอิงข้อ 1.6 และข้อ 2.2 ซึ่งการตรวจสอบการปฏิบัติการจะถูกตรวจสอบโดยฝ่าย Compliance & Internal Audit อย่างสม่ำเสมอตามรอบการตรวจสอบ และจัดอบรมพนักงานเป็นประจำทุกปี

2.4 บริษัทจัดให้มีการสื่อสารกับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องเปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการนั้น และมีมาตรการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเหมาะสม

ผลการปฏิบัติงาน: ผู้ให้บริการมีการรับทราบถึงข้อกำหนด และข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งถูกระบุไว้ภายในสัญญาจ้างอย่างครบถ้วน

หลักปฏิบัติที่ 3 ตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์

3.1 บริษัทจัดให้มีกระบวนการติดตามการดําเนินงานของบริษัทที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบการดําเนินงานของบริษัทที่ลงทุนและรู้ปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นและทันเหตุการณ์

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องการติดตามการดำเนินงานของบริษัทที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอโดยพิจารณาคุณค่าของบริษัทหลักทรัพย์ที่ลงทุนด้วยระบบเทคโนโลยีของบริษัทที่มีความทันสมัย และมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ อีกทั้ง มีการทบทวนแผนการลงทุนและหลักทรัพย์ และทดสอบ Back test เป็นประจำทุกปี

3.2 บริษัทกําหนดปัจจัยในการพิจารณาบริษัทที่ลงทุน โดยพิจารณาคุณค่าของบริษัทที่ลงทุนด้วยเทคโนโลยีของบริษัทที่มีความทันสมัย และมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมเพียงพอ

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์และเลือกผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เหมาะสมที่สุดทั้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ สำหรับลูกค้าโดยปราศจากความลำเอียง อย่างไรก็ตาม บริษัทคำนึงถึงความทันสมัย และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ

3.3 บริษัทจัดให้มีการติดตามบริษัทที่ลงทุนเพื่อให้สามารถติดตามการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ผลการปฏิบัติงาน: อ้างอิงข้อ 3.2

3.4 กรณีที่พบว่า บริษัทที่ลงทุนมีสัญญาณของปัญหาที่อาจส่งผลต่อมูลค่าการลงทุน บริษัทจะพิจารณาดําเนินการตามความเหมาะสม

ผลการปฏิบัติงาน: สำหรับหลักทรัพย์ที่ขึันเครื่องหมายที่แสดงการห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราว (Suspension : SP) และหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ (Non Compliance : NC) เป็นต้น บริษัทจะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อติดตามผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับงบการเงินของบริษัทหลักทรัพย์นั้น โดยจะไม่ลงทุนเพิ่มเติมให้กับลูกค้า หรือหากจำเป็นก็จะขายหลักทรัพย์ทันที

หลักปฏิบัติที่ 4 เพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุนเมื่อเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติที่ 3 ไม่เพียงพอ

4.1 บริษัทจัดให้มีแนวปฏิบัติที่ระบุถึงเหตุการณ์ และแนวทางที่จําเป็นในการเข้าไปดําเนินการกับบริษัทที่ลงทุนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถติดตามได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากข่าวของหลักทรัพย์ต่างๆ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป

4.2 บริษัทกําหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ควรเข้าไปดําเนินการกับบริษัทที่ลงทุนเพิ่มเติมโดยให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ ผลประกอบการ การจัดการกับความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงความเชื่อมั่นในการบริหารกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ผลการปฏิบัติงาน: อ้างอิงข้อ 3.2

4.3 ในเหตุการณ์ที่บริษัทพบว่า บริษัทที่ลงทุนมีประเด็นที่ควรตระหนักถึงในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การจัดการกับความเสี่ยง ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือประเด็นอื่นใดที่บริษัทคาดว่ามี ผลกระทบต่อกลยุทธ์การเติบโตในระยะยาวของบริษัทที่ลงทุน

บริษัทอาจพิจารณาเลือกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างที่เหมาะสม เช่น
- มีหนังสือถึงคณะกรรมการบริษัท เพื่อแจ้งประเด็นข้อสังเกต ข้อกังวล
- การเข้าพบกับประธานกรรมการ หรือกรรมการอื่น รวมทั้งกรรมการอิสระ หรือ
- วิธีการอื่นใดที่เหมาะสม ตามที่กฎหมายกำหนด

ผลการปฏิบัติงาน: อ้างอิงข้อ 3.2 บริษัทไม่มีมาตรการการวิเคราะห์ในรูปแบบอื่นใดนอกเหนือจาก อัลกอริทึมของเทคโนโลยีเพื่อการลงทุนเท่านั้น เพื่อให้การลงทุนเป็นไปได้ด้วยความไม่ลำเอียง

หลักปฏิบัติที่ 5 เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง

บริษัทกําหนดนโยบายไม่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น และไปใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมในการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ ซึ่งบริษัทได้แจ้งให้ลูกค้ารับทราบ โดยการอธิบายและระบุในสัญญารับจัดการกองทุนส่วนบุคคล และหน้าเว็บไซต์ของบริษัท โดยบริษัทจะแจ้งให้ลูกค้ารับทราบตามวิธีที่ตกลงกัน

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทกำหนดนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ โดยจะไม่เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ บริษัทได้อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า โดยมีการแจ้งให้ทราบถึงข้อมูลการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผ่านเว็บไซต์ที่ https://jittawealth.com/xm และแจ้งลิ้งค์ข้อมูลการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวผ่านทางรายงานประจำเดือนให้ลูกค้าทราบด้วย

หลักปฏิบัติที่ 6 ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นและผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) ตามความเหมาะสม

บริษัทกำหนดให้มีการดำเนินการกับกิจการที่ลงทุนที่มีข้อกังวลและยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลัง  จากเพิ่มระดับในการติดตามได้ บริษัทอาจมีการร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่น (ทั้งในและต่างประเทศ) หรือผู้มีส่วนได้เสียของกิจการหากเห็นสมควร เพื่อให้กิจการที่ลงทุนเห็นความสำคัญของประเด็นข้อกังวัลของบริษัทและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่น (ทั้งในและต่างประเทศ) และผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) โดยหากมีการร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นจะเปิดเผยนโยบายการร่วมมือดังกล่าวให้กับลูกค้าได้รับทราบ (ถ้ามี)

หลักปฏิบัติที่ 7 เปิดเผยธรรมาภิบาลการลงทุน และการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

7.1 บริษัทกําหนดให้มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่เหมาะสม และมีกลไกที่ดูแลให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อลูกค้าถูกต้อง ไม่ทําให้สําคัญผิด และสร้างความน่าเชื่อถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า

ผลการปฏิบัติงาน: บริษัทมีการเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน การปฏิบัติตามนโยบายธรรมภิบาลการลงทุนให้ลูกค้าทราบผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท รวมทั้งมีการจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลอย่างเหมาะสม

7.2 บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน รายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายให้ลูกค้าทราบ โดยผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท

ผลการปฏิบัติงาน: อ้างอิงข้อ 7.1

ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2567

นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด