คุณอัครเดช ศรีสง่า
เจ้าของธุรกิจซอฟต์แวร์ งานระบบเขียนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน

ตั้งใจลงทุนระยะยาวไปเรื่อยๆ หากจะขาดทุนบ้างก็ไม่ซีเรียส เพราะเชื่อว่ามีโอกาสที่เงินจะเติบโต ก็ดีกว่าปล่อยไว้ในออมทรัพย์เฉยๆ
กับพอร์ต Global ETF ผลตอบแทน +53.82%
#รีวิวJittaWealth
เลือกลงทุนให้ถูกที่ เงินก้อนที่มีก็งอกเงย
การมีเงินก้อน แล้วหาทางให้มันเติบโตก็เป็นเรื่องปกติ แต่การเลือกพอร์ตดีๆ ให้เงินก้อนได้งอกเงย อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน แต่คุณอัครเดช ศรีสง่า เจ้าของธุรกิจซอฟต์แวร์ งานระบบเขียนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เลือกที่จะให้ Global ETF เป็นพอร์ตที่จะพาให้เงินก้อนของเขาเติบโต แม้จะไม่ค่อยได้ DCA ก็ตาม แต่ก็สร้างผลตอบแทนได้ถึง +53.82% (23 ก.ย. 63- 20 พ.ค.68) ถือว่าเติบโตที่ถือว่าเกินความคาดหมายไปมากจนต้องยกให้เป็นพอร์ตลูกรัก
ก่อนที่คุณอัครเดชจะมาลงทุนกับ Jitta Wealth ในช่วงหนึ่งของชีวิตที่เขามีรายได้ค่อนข้างมาก และเริ่มมีเงินก้อนจึงเป็นที่มาของการเริ่มศึกษาลงทุน โดยเริ่มที่หุ้นไทย และมีโอกาสได้รู้จักกับ Jitta Wealth จากการใช้ Jitta.com เป็นเครื่องมือในการดูข้อมูลหุ้นที่ได้จัดอันดับ Ranking เพื่อพิจารณาเลือกหุ้นที่น่าลงทุน โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งโดยส่วนตัวเขาชอบในแนวทางการลงทุนแบบ VI ที่จะต้องอ่านงบ ดูข้อมูลหุ้นด้วยตัวเอง
มุมมองการลงทุนเปลี่ยนไปเมื่อได้ทำธุรกิจ
เดิมทีคุณอัครเดชยอมรับว่าเขาไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการลงทุนมากนัก และมองว่าหุ้นก็น่าจะเหมือนกับการเล่นพนันหรือซื้อหวย ลงไปแล้วก็รอจังหวะได้/เสีย จนเมื่อได้มาทำธุรกิจของตัวเอง ก็เข้าใจแล้วว่าธุรกิจก็คือธุรกิจ มีกำไรและมีขาดทุนเป็นธรรมดา การได้รู้จักธรรมชาติธุรกิจทำให้เขามองเห็นความเป็นจริงของหุ้นมากขึ้น เขาตระหนักดีว่าเมื่อทำธุรกิจแล้วได้เงินมา การจะนำเงินนั้นไปลงทุนเปิดธุรกิจใหม่ก็อาจจะต้องทุ่มทรัพยากรรวมถึงเวลาค่อนข้างมาก เขามองว่าการนำเงินนั้นไปให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญไปบริหารให้จะดีกว่า
“เงินเป็นสินทรัพย์ที่งอกเงยได้และทุกคนต้องการอยู่แล้ว เราดูแลธุรกิจของเราให้ดี ส่วนเงินเย็นที่มีก็ให้มันไปทำงานต่อ การเป็น VI ก็เหมือนเราไปทำธุรกิจนั้นด้วย แต่จริงๆ ไม่ต้องไปทำเอง แค่รู้ว่าบริษัทนั้นทำงานยังไง รู้ว่าได้กำไรจากไหน เราเน้นเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโต ราคายังไม่แพง แล้วก็มีปันผล”
คุณอัครเดชทำธุรกิจตัวเองไปด้วยลงทุนเองไปด้วย สักพักก็รู้สึกเหนื่อยและเริ่มขี้เกียจกับการที่ต้องมาติดตามตลาดเองตลอดเวลา แม้ว่าเขาจะได้พัฒนาระบบวิเคราะห์หุ้นของตัวเองขึ้นมาเพื่อลดเวลาการเลือกหุ้นของตัวเองลง แต่นั่นก็ยังต้องใช้เวลาในการดูแลระบบอยู่ดี ดังนั้นเมื่อ Jitta Wealth เปิดให้บริการ เขาซึ่งอยู่ในสายเทคฯ อยู่แล้วก็เข้าใจและตัดสินใจได้ไม่ยาก โดยเฉพาะเมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างการเซฟเวลาของตัวเองด้วยการใช้ AI ของ Jitta Wealth แลกกับค่าธรรมเนียมที่แสนจะต่ำก็รู้สึกคุ้มค่าแล้ว
เขาจึงเปิดพอร์ตแรกด้วย Jitta Ranking หุ้นไทย ลงทุนมาได้ประมาณ 3 ปี เขาก็ตัดสินใจขายออก ในช่วงนั้นเขาสนใจการไปลงทุนในต่างประเทศ แต่ก็รู้สึกถึงความยุ่งยากในการออกไปลงทุนเอง เพราะมีเรื่องกฎระเบียบและค่าเงินที่ยุ่งยาก แต่การถือพอร์ตของ Jitta Wealth มาพักใหญ่ ก็มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น จึงเปิดพอร์ต Global ETF เพื่อรับโอกาสการลงทุนต่างประเทศแทน โดยเลือกเปิดทั้ง Global ETF แบบสมดุลและ Global ETF แบบเติบโต เพราะต้องการเปรียบเทียบกัน
“พอหลังโควิด ก็ไม่ได้มีเงินเก็บเยอะเหมือนช่วงก่อนที่เรามีก็คอยเอามาเติม ก็เลยกลายเป็นว่าเงินเย็นที่มีก็มีแค่นี้แหละ ไม่ค่อยได้เติมพอร์ต ที่เหลือเราก็เอามาหมุนแทบตลอดเวลา”
เมื่อมาลงทุนกับ Jitta Wealth คุณอัครเดชก็ไม่ได้ลงทุนในหุ้นไทยอีกเลย เพราะมองว่ามีความผันผวนค่อนข้างมาก และตัวเลือกมีน้อย เพราะราคาแพงไปหมดแล้ว ส่วนหุ้นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในระยะหลังเขาก็ยังไม่มีเวลาไปวิเคราะห์จริงจัง จึงไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยง เพราะสุดท้ายจะเหมือนเล่นพนันเอาได้
“ผมเป็นคนแอนตี้เรื่องการพนันมาก ถ้าต้องใช้ดวงมากกว่าหลักการและเหตุผลในการตัดสินใจ ผมจะไม่เข้าไปยุ่งเลย”
สำหรับคนทำธุรกิจอย่างคุณอัครเดชมองว่าการนำเงินเก็บมาลงทุนแม้จะมีโอกาสขาดทุน แต่ก็ไม่ต่างจากการนำเงินไปลงทุนธุรกิจใหม่ๆ เพราะด้วยประสบการณ์ที่มีทำให้รู้ว่าการทำธุรกิจให้สำเร็จสร้างผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำได้มันไม่ง่ายในยุคนี้
สำหรับพอร์ต Global ETF สมดุล และ Global ETF เติบโต ที่เขาตั้งใจลงทุนเพื่อเปรียบเทียบกัน เขาก็ได้เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจนมาก โดย Global ETF สมดุล ของเขาได้มีเงินลงทุนรวม 600,000 บาท ล่าสุดมูลค่าพอร์ตปรับขึ้นมาอยู่ที่ 770,000 บาท ส่วน Global ETF แผนเติบโตนั้นมีเงินลงทุนรวม 1.2 ล้านบาท ล่าสุดมูลค่าเพิ่มมาเป็น 1.6 ล้านบาท เรียกว่าเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
นักลงทุนระยะยาว จิตใจต้องแข็งแกร่ง
คุณอัครเดชเป็นนักลงทุนระยะยาว และตั้งใจที่จะลงทุนเพื่อรอคอยการเติบโตไปเรื่อยๆ และอาจเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกให้หลาน หากไม่มีอะไรมากระทบในชีวิต ส่วนการเปิดดูพอร์ตจะทำเพียง 2-3 เดือนครั้งเท่านั้น แต่นั่นก็ทำให้เขาได้เห็นจังหวะที่พอร์ตปรับขึ้นและปรับลงอยู่บ้าง ซึ่งเขามองว่าไม่เป็นไร
“ต่อให้ขาดทุน ก็ไม่ค่อยซีเรียส เพราะเชื่อว่าให้มีโอกาสเพิ่มขึ้นดีกว่าปล่อยไว้เฉยๆ ในบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่มีประโยชน์ ส่วนความผันผวนในตลาด ผมมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะว่าตลาดเองก็เป็นแค่อารมณ์ของคนหมู่ใหญ่ แต่ตัวธุรกิจก็คือธุรกิจ พอเราเชื่ออย่างนั้นเราก็จะไม่ตื่นตูมไปกับตลาดเท่าไหร่”
ใช่ว่าจะกำไรไปทุกพอร์ต พอร์ตที่ยังขาดทุนอยู่ก็มี อย่าง Thematic DIY ที่เขาเคยเห็นพอร์ตติดลบหนักสุดถึง -38% แต่ตอนนี้ฟื้นขึ้นมาบ้างแล้วแต่ก็ยังติดลบอยู่ราว 20% ซึ่งคุณอัครเดชยอมรับและเข้าใจในเหตุผลที่พอร์ตติดลบเป็นอย่างดี ว่ามาจากธีมที่เขาได้เลือกเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดเกิดฟองสบู่ เนื่องจากในเวลานั้นมีข่าวที่หุ้น Meta ประกาศลงทุนใน VR/AR ในฐานะสายเทคฯ อย่างเขามองว่าหาก Meta ทำสำเร็จจะกระเทือนวงการเทคฯ ได้แน่นอน เขาจึงลงทุนไป แต่สุดท้ายก็ไม่เกิด เขาจึงได้ทำการเปลี่ยนธีมมาเป็น AI แทน ซึ่งเขามองว่ายังเป็นความผันผวนในระดับที่ไม่ได้ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเพิ่มเติม เพราะอย่างไรเสีย ธีมที่เหลืออย่างเทคโนโลยีท่องเที่ยวหรือ Cloud Computing ก็เติบโตไปตามยุคสมัยอยู่แล้ว
“ธีมส่วนใหญ่ที่เลือกก็จะอยู่ในธีมสายเทคฯ เพราะผมอยู่ในวงการนี้ผมจะเข้าใจว่าความต้องการเทคโนโลยีเหล่านี้มีแต่จะเพิ่มขึ้นๆ แต่อาจจะเก็งตลาดผิดไปบ้างก็เป็นไปได้ เข้าใจดีว่าภาวะที่เราเข้าไปอาจจะเป็นจังหวะที่ราคามันสูงไปแล้วด้วย”
ด้วยความที่เราเป็นสายเทคฯ การลงทุนด้วย AI แท้จริงแล้วไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจเข้าถึงยากสำหรับเขา แต่อาจจะยากสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่สายเทคฯ ดังนั้นการมี Jitta Wealth ถือว่าตอบโจทย์กับนักลงทุนในวงกว้างได้จริง แต่โดยส่วนตัวเขาเองก็เป็นมนุษย์ทำงานที่ต้องดูแลธุรกิจไปด้วย ไม่สามารถที่จะมาลงทุนด้วยตัวเองได้ดีพอ และความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีทำให้เขาเชื่อว่าการปล่อยให้เทคโนโลยีช่วยบริหารจะช่วยสร้างความแม่นยำ ลงทุนเป็นระบบและสม่ำเสมอกว่าการลงทุนเองอยู่แล้ว ช่วยปิดข้อจำกัดของมนุษย์ได้ดี

*ศึกษาข้อมูลนโยบายการลงทุนและผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละนโยบายได้ที่ jittawealth.com
**ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน