บอล - คงเดช กี่สุขพันธ์ เจ้าของเพจ kafaak หากคุณเป็นคนสาย IT ชอบแกดเจ็ต และเทคโนโลยีใหม่ๆ คุณน่าจะรู้จักชื่อของ บล็อกเกอร์ยุคบุกเบิกอย่าง กาฝาก (kafaak) ภายใต้การรีวิวที่เป็นเอกลักษณ์ของ บอล-คงเดช กี่สุขพันธ์ หนุ่ม ITที่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นทั้ง นักเขียน วิศวกร และวิทยากรเรื่องการตลาดดิจิทัล จนปัจจุบันเขามีผู้ติดตามกว่า 400,000 คน แม้จะทำงานมาเป็นสิบๆ ปี แต่เขายัง ไม่ได้เริ่มวางแผนการเงินมากนัก จนถึงเวลา Wake-up Call ตอนอายุ 30 ปลายๆ ที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังเรื่องวางแผนการเงิน
ช่วงจบใหม่ๆ ผมเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่ช่วงหนึ่ง และได้จับพลัดจับผลูไปเป็นวิศวกรโรงงาน ย้ายสายจาก IT ไปวิศวะ ช่วงนั้นเริ่มมีโซเชียลมีเดีย และมีสมาร์ตโฟนเครื่องแรก เราเริ่มเห็นว่าวงการนี้เกิดการแข่งขันกันมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นด้วย ซึ่งมันสนุกมาก ผมรู้สึกว้าวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทุกอย่าง เลยเริ่มอยากเขียนเล่า
ตอนนั้นผมเริ่มจากแปลข่าวต่างประเทศมาเล่าให้ฟัง หรือเขียนวิธีการใช้งาน iPhone โดยเริ่มเล่าจากแอ็กเคานต์ใน Twitter ก่อน ซึ่งตอนนั้นมีผู้บริหารสาย IT ส่วนใหญ่มาเล่น Twitter กันเยอะ เลยเริ่มมีคนส่งอุปกรณ์ IT มาให้เรา พอได้ลองใช้ ผมก็ลองรีวิวเลย และเริ่มมีคนส่งของมาให้เรารีวิวมากขึ้น เพราะ ณ เวลานั้น วงการรีวิวเป็นเรื่องใหม่มาก เลยเป็นจุดเริ่มต้นของการเขียนรีวิวเรื่อยมา ซึ่งก็ทำให้เราได้เล่นของที่ใหม่สุดเสมอ แบบที่ไม่ต้องเสียเงินมาก
พอเราเข้าสู่ช่วงอายุ 30 ปลายๆ เราเริ่มตระหนักว่า เราคิดเรื่องการบริการการเงินช้ามาก จุดเปลี่ยนของผมคือการได้ไปเห็นเงินเก็บของภรรยา ด้วยหน้าที่การงานผม คือเงินเดือนก็ไม่น้อย และมากกว่าภรรยา 2-5 เท่า แต่ภรรยากลับมีเงินเก็บมากกว่าผม 2-5 เท่าไปซะอย่างงั้น เรารู้สึกช็อกและรู้สึกแย่ เลยคิดว่าจะอยู่แบบนี้ไม่ได้แล้ว ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ผมเริ่มลงทุนหลายแบบ มีช่วงที่ผมเข้าไปเทรด เล่นหุ้นระยะสั้น ซื้อหุ้นปั่นแล้วจะต้องรีบกดขาย แต่บางครั้งเจอเจ้านายเรียกประชุม ทำให้ขายไม่ทันก็มี ติดดอยสูง เลยต้องยอมตัดขาดทุน Cut Loss กันไป ซึ่งบทเรียนนั้นทำให้เรารู้ว่า การลงทุนในหุ้นมันไม่ใช่ตัวเราแล้ว เพราะว่าเราไม่ได้ว่างขนาดนั้น เราต้องทำงานประจำด้วย มันไม่เหมาะที่จะมาจ้องหน้าจอตลอดเวลา เลยเริ่มรู้สึกว่ากองทุนเหมาะกว่า แต่ตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าจะต้องเลือกกองทุนอันไหนดี เพราะข้อมูลมันเยอะไปหมด
เพราะรู้จักตัวเองอย่างดี จึงจัดการความเสี่ยงด้วยเทคโนโลยีที่ไว้ใจ
ผมรู้จัก Jitta มาตั้งนานแล้ว คือเราเชื่อถือมือคุณอ้อและคุณเผ่ามาก ในเรื่องเทคโนโลยี และเรื่องระบบอัลกอริทึม แล้วเรารู้ว่าคุณเผ่าเป็นนักลงทุนสาย VI (Value Investing) เขามีความรู้ในเรื่องการลงทุนมากขนาดไหน
ผมมองว่าการลงทุนใน Jitta Wealth เป็นกองทุนส่วนบุคคลที่ทำให้ความเสี่ยงน้อยลง และเปรียบเทียบได้ว่า ถ้าเอาตัวผมเองไปลงทุนในหุ้นเอง กับให้ AI ลงทุนให้ AI น่าจะบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่านะ
เพราะเรื่องความเสี่ยงไม่ใช่แค่เรื่องรูปแบบการลงทุน หรือสิ่งที่คุณไปลงทุน แต่ความเสี่ยงคือจริตของคุณ ความสามารถที่คุณรับได้ในการลงทุน รวมไปถึงสันดานในการลงทุนของคนนั้นด้วยว่า มันเสี่ยงมากไหม มันเก่งแค่ไหน แต่สำหรับผมคือไม่เก่งเลย โง่ง่อยมาก ผมมองว่าเมื่อเอา AI เข้ามาช่วย ผมสามารถขยับความเสี่ยงที่ผมรับได้มากขึ้นไปได้อีกนิด ซึ่งเป็นจุดที่ดีมากของ Jitta Wealth
เราเป็นคนขี้เกียจ เรารู้เลยว่าจริตของเรามันไม่ใช่สำหรับการลงทุนที่ต้องมานั่งหาข้อมูลเยอะๆ เวลามีคนมาถามผมว่าลงทุนกับ Jitta Wealth ตัวไหนดี เรามักจะแนะนำไปว่า ถ้าไม่เน้นหวือหวา แต่เน้นเติบโตต่อเนื่องให้ลง Global ETF แต่ถ้าคุณเก็งเก่งหน่อย และรับความเสี่ยงได้มากควรไปลงทุนใน Thematic DIY ที่ต้องเลือกธีมลงทุนเอง แต่หากไม่มั่นใจที่จะเลือกธีมเองก็ควรเลือกลงทุนแบบ Thematic Optimize
เราต้องมั่นใจและไว้ใจในระบบอัลกอริทึม ผมมองว่าในระยะยาว ระบบอัลกอริทึมนั้นฉลาดกว่าเราในการจัดการข้อมูลที่มหาศาลอย่างแน่นอน แม้ผมจะเริ่มต้นวางแผนการเงินช้ากว่าใครหลายคน แต่ผมมีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีกลยุทธ์เพื่อไปให้ถึงเส้นชัย
ผมคิดไปถึงช่วงเกษียณว่าตอนนั้นจะมีเงินไหม ปัญหาคือผมเป็นคนไม่ชอบเสี่ยง ผมไม่ทำธุรกิจ ไม่ลงทุนหลายจุด เน้นเอาเงินต่อเงินง่ายๆ ด้วยกองทุนนี่แหละ ไปลงทุนในที่ที่เราคาดหวังผล 6-8% ต่อปีดีกว่า แล้วโชคดีที่ว่าเมื่อเราอายุมากกว่าขึ้น เงินเดือนเราก็สูงขึ้น ทำให้มีเงินลงทุนมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่เราจะสามารถเก็บเงินให้เพียงพอกับตอนเกษียณได้
การ ‘ปล่อย’ ให้เงินทำงานมีอยู่จริง
ถ้าคุณจะให้เงินได้ทำงานจริงๆ คุณต้องไม่ไปยุ่งกับมันเลย และหากเราต้องการให้มันจะทำงานโดยอัตโนมัติ มีเงื่อนไขเดียวคือให้ระบบอัลกอริทึมมาช่วยคุณ เมื่อผลลัพท์การลงทุนสำเร็จตามเป้าหมาย ก็จ่ายค่าธรรมเนียมให้กับคนที่ช่วยลงทุนไป การลงทุนแบบนี้สิถึงจะเรียกว่า ปล่อยให้เงินทำงานที่แท้จริง