Jitta Money กองทุน Money Market จาก Jitta Wealth

Jitta Money คืออะไร
Update: มิถุนายน 2568

- ลงทุนใน ETF พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นที่ดีที่สุด
- กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
- รีวิวและปรับพอร์ตให้อัตโนมัติ
Jitta Money เน้นลงทุนใน Money Market ที่เป็นตราสารหนี้ ประเภทพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น ซึ่งผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรรัฐบาลนี้มีแนวโน้มที่ดีอยู่ระดับสูงสุดในรอบ หลายสิบปี โดยเฉพาะประเทศขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา
เลือกลงทุนใน ETF กองทุนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น ซึ่งออกและรับรองโดยรัฐบาลสหรัฐฯ จึงมีโอกาสต่ำมากในการผิดนัดชำระหนี้ ช่วยปกป้องความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
พร้อมกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสมโดยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 กอง ในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน และมีการรีวิวพอร์ตและปรับพอร์ตอัตโนมัติเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด หรือสัดส่วนของการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงเกิน 5%
ที่สำคัญ Jitta Wealth ยังคงหลักการเดิมคือ Passive Investment เลือกลงทุนใน ETF ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ ที่จะไม่รบกวนกำไรในพอร์ตของคุณ
สะดวกสบายกว่า เพราะการลงทุนกับ Jitta Money ไม่จำกัดเวลา (Lock-up period) และเริ่มต้นขั้นต่ำเพียง 10,000 บาท
Jitta Money คัดเลือก ETF พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นที่ดีที่สุดอย่างไร
ETF พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เราคัดเลือกมาให้จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- เป็น ETF ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น (ต่ำกว่า 1 ปี) เพื่อให้มีความผันผวนต่ำ
- มีการบริหารแบบเชิงรับ (Passive Investing) เพราะจะมีค่าธรรมเนียมการบริการกองทุนที่ต่ำ ให้คุณได้กำไรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ค่าธรรมเนียมไม่มารบกวน
- มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการ (AUM) สูงกว่า 10,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนถึงความมั่นคงของกองทุน
- ต้องเป็นกองทุนที่มีอายุอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป เพื่อแสดงถึงความน่าเชื่อถือ
ไม่ใช่แค่นั้น หลังจากที่เราได้ ETF พันธบัตรระยะสั้นสหรัฐฯ ตามคุณสมบัติมาแล้ว เราจะมากระจายความเสี่ยงโดยการแบ่งเงินลงทุนของคุณเป็น 2 ส่วน และลงทุนใน ETF 2 กองที่ผ่านคุณสมบัติเท่าๆ กัน
ระบบจะทำการดูแลให้ตลอดเวลาและจะปรับสัดส่วนเป็น 50:50 ทุกๆ ครั้งที่เพิ่มทุน ถอนทุน หากสัดส่วนการลงทุนต่างกันเกิน 5% เพื่อให้สัดส่วนอยู่ใกล้เคียงกับ 50:50 ตลอดเวลา และถ้าหากไม่มีอะไรกระทบกับสัดส่วนจะค่อยปรับพอร์ตหลังจากผ่านไปแล้ว 365 วัน
เราทบทวนรีวิว ETF ที่ลงทุนแล้วอย่างสม่ำเสมอ หากมีการเปลี่ยนแปลง ETF ที่จะลงทุน ระบบจะทยอยปรับเปลี่ยนไปลงทุนใน ETF ใหม่ให้โดยอัตโนมัติ คุณไม่ต้องนั่งรีวิวพอร์ตด้วยตัวเอง

Jitta Money ตอนนี้คุณจะได้ลงทุนใน ETF กองไหนบ้าง
และ ETF พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น ที่ผ่านเกณฑ์ในครั้งนี้ได้แก่

iShares 0-3 Month Treasury Bond ETF (SGOV) เป็น ETF ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 49,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลตอบแทนคำนวณจาก 30-Day SEC Yield เท่ากับ +4.18% ต่อปี
iShares Short Treasury Bond ETF (SHV) เป็น ETF ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 20,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลตอบแทนคำนวณจาก 30-Day SEC Yield เท่ากับ +4.11% ต่อปี
ซึ่งผลตอบแทนล่าสุดของ Jitta Money จะอยู่ที่ +3.45% เมื่อคำนวณจาก 30-Day SEC Yield หลังหักค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2568)
คลิกดูอัตรา 30-Day SEC Yield ล่าสุด SGOV และ SHV
มาถึงตรงนี้แล้วคุณคงเห็นภาพการลงทุนแบบเย็นใจ ให้เงินได้เติบโตแบบไม่นอนนิ่งๆ แต่ความเสี่ยงต่ำกันมากขึ้นกับ Jitta Money แล้ว แต่ว่านโยบายนี้เหมาะกับใครบ้าง
Jitta Wealth จะทบทวนและคัดเลือก ETF ที่เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น ETF ที่ลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ข้อมูลล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงจาก BIL เป็น SHV ในวันที่ 25 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป
Jitta Money เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน
นโยบายนี้เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ระดับต่ำถึงปานกลาง มีความต้องการที่จะรักษาเงินต้น ให้ความสำคัญกับสภาพคล่องสูง ต้องการลงทุนระยะสั้น ที่สำคัญรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้
นโยบายนี้ไม่เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และมองหาโอกาสเติบโตสูง ต้องการผลตอบแทนสูง ต้องการลงทุนในระยะยาว หรือมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

Jitta Money คิดค่าธรรมเนียมอย่างไร
เพื่อให้การลงทุนใน Jitta Money สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด Jitta Wealth จึงช่วยจัดการลดและสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้กับนักลงทุน
โดยค่าธรรมเนียมของนโยบาย Jitta Money จะมีดังต่อไปนี้



ค่าธรรมเนียมรวมขั้นต่ำที่เรียกเก็บ (ค่าธรรมเนียมการจัดการและการดูแลทรัพย์สินของกองทุน) ประมาณ 0.642% ต่อปี รวม VAT
หมายเหตุ
[1] ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ หรือ custodian คือบริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้รับฝากสินทรัพย์ตามกฎหมาย
[2] ค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ (Trading Commission) เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะชำระให้แก่บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการ (ปัจจุบันคือ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) ค่าธรรมเนียมดังกล่าวแตกต่างกันในตลาดหุ้นแต่ละประเทศ
[3] Jitta Wealth ดำเนินงานร่วมกับผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เช่น Kbank และ Standard Chartered Bank เพื่อให้ได้มาซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุดสำหรับนักลงทุนสถาบัน โดยมีค่า FX Spread อยู่ที่ไม่เกิน 1.0% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนของนักลงทุนโดยทั่วไป
[4] ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ ค่าภาษีธุรกรรม และค่าอากรสแตมป์ ตามที่เรียกเก็บจริง ข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 67
[5] ค่าธรรมเนียมข้างต้น ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งจะถูกคำนวณในวันที่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่อปี รวม VAT แล้ว สามารถดูได้ที่ท้ายตารางของแต่ละนโยบาย
[6] บริษัทอาจพิจารณาเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
การบริหารความเสี่ยง
มีการบริหารความเสี่ยงแยกตามปัจจัยความเสี่ยง พร้อมแนวทางการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk)
ความเสี่ยงที่มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปัจจัย ภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจการลงทุน ปัจจัยทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งพิจารณาได้จากค่า Standard Deviation (SD) ของกองทุน หากกองทุนมีค่า SD สูง แสดงว่า กองทุนมีความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ที่สูง
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : บริษัทจัดการจะกระจายสัดส่วนการลงทุนในตราสารต่างๆ อย่างเหมาะสมซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมระดับความเสี่ยงโดยรวมของกองทุนอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตาม
นโยบายและมีดุลยภาพกับด้านผลตอบแทนตามที่คาดหวัง
- ปัจจัยความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk)
กองทุนรวมเป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่จัดตั้งขึ้น โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุน (Asset Management Company) ความน่าเชื่อถือของกองทุนรวมจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ ขนาดของกองทุน ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดการกองทุน รวมถึง คุณภาพของหลักทรัพย์ที่ใช้เป็นสินทรัพย์รองรับภายในกองทุน
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : เลือกลงทุนเฉพาะกองทุนรวมขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่น่าเชื่อถือ มีกฏระเบียบควบคุมที่เหมาะสม และเป็นกองทุนที่ออกโดยบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียง
- ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่กองทุนไม่สามารถจำหน่ายตราสารนั้น ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและภายในระยะเวลาอันสมควร
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : บริษัทจัดการจะพิจารณาเลือกลงทุนในตราสารที่มีคุณภาพดีทั้งในด้านความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ตลอดจนสภาพคล่องของตราสาร
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rate Risk)
ความเสี่ยงจากการที่กองทุนที่ลงทุนนำเงินไปลงทุนในรูปของสกุลเงินตราต่าง ๆ ดังนั้น ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ก็จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนได้
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : เนื่องจากกองทุนมีนโยบายการลงทุนระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป จึงไม่มีสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
- ปัจจัยความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตราสารหนี้ที่ลงทุนอยู่ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ เนื่องจาก ผู้ออกตราสารหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : กองทุนมีนโยบายลงทุนเฉพาะ ETF ตราสารทุน ซึ่งไม่มีความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร หรือลงทุนใน ETF ตราสารหนี้ที่มีการกระจายความเสี่ยงเป็นอย่างดี ทำให้มีความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารต่ำ
- ความเสี่ยงจากการเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Leverage Risk)
กองทุนไม่มีโนบายการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงไม่มีความเสี่ยงนี้
- ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated)
กองทุนไม่มีโนบายการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) จึงไม่มีความเสี่ยงนี้
ผู้จัดการกองทุน
- นายมาโนช ช่างสลัก (ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน 2566)
- นายประภัศร์พงษ์ นันทกิจพัฒนา (ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน 2566)
Jitta Money เริ่มต้นลงทุนอย่างไร
เพียง 3 ขั้นตอนคุณก็ลงทุนกับ Jitta Wealth ได้แล้ว
- เปิดบัญชี หากคุณยังไม่เคยลงทุนกับ Jitta Wealth โดยดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jitta Wealth ผ่าน App Store Google Play หรือ Huawei AppGallery และสร้างบัญชีได้เลย หรือถ้าคุณลงทุนกับ Jitta Wealth อยู่แล้วแค่เพิ่มพอร์ต Jitta Money ในแอปพลิเคชัน
- โอนเงินลงทุนเข้าพอร์ต ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ โอนเงินผ่านธนาคาร หรือโอนเงินผ่าน QR code
- ดูผลตอบแทนบนแอปพลิเคชัน หลังระบบดำเนินการแลกเงินลงทุน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 วันทำการ และซื้อสินทรัพย์เข้าพอร์ตลงทุนประมาณ 3-5 วันทำการ

หมายเหตุ: ในการเสนอนโยบายการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลนี้มิได้เป็นการแสดงว่าสำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว หรือได้ประกันราคาหรือผลตอบแทนของนโยบายการลงทุนที่เสนอนั้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดพอร์ตและเพิ่มพอร์ตลงทุนได้ที่นี่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Jitta Money
Jitta Money เริ่มต้นลงทุนที่เท่าไหร่
เงินลงทุนเริ่มต้นที่ 10,000 บาท และเพิ่มทุนขั้นต่ำครั้งละ 1,000 บาท
Jitta Money ให้ผลตอบแทนอย่างไร
สำหรับผลตอบแทนของนโยบายนี้ จะเป็นไปตามอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นที่ลงทุน ซึ่งผลตอบแทนล่าสุดก่อนหักค่าธรรมเนียม คำนวณจาก 30 day SEC Yield ของ ETF ที่เราคัดเลือกมาอยู่ระหว่าง +4.11% ถึง +4.18% ต่อปี
Jitta Money มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่
เนื่องจากเป็นการลงทุนในสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลกระทบต่อผลตอบแทน แต่ยิ่งลงทุนระยะยาวผลกระทบจะยิ่งน้อยลง Jitta Wealth จึงไม่ทำประกันอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ให้เงินของคุณทบต้นได้มากขึ้น
การลงทุนใน Money Market คืออะไร
การลงทุนใน Money Market คือการลงทุนที่มีนโยบายลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยได้รับผลตอบแทนเป็น ‘ดอกเบี้ย’ ในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ รวมกับ ‘เงินต้น’ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างตราสารหนี้ที่พบเห็นกันบ่อยๆ ก็จะประกอบไปด้วย ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน จุดเด่นของตราสารหนี้คือ ความเสี่ยงที่ต่ำ
ในกรณีที่เราลงทุนในตลาดเงิน หรือ Money Market ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี แบบ Jitta Money จะทำให้เราได้ดอกเบี้ยตามปกติ และราคาของตราสารหนี้ที่ไม่ผันผวนมากนัก มั่นคงกว่าและมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ
นี่จึงเป็นเหตุผลที่นักลงทุนทั่วโลก มักจะพักเงินรอไว้ใน ตราสารหนี้ระยะสั้น ระหว่างรอโอกาสในการลงทุนใหม่ๆ
หากคุณกำลังมองหาสินทรัพย์ในการลงทุนความเสี่ยงต่ำ ต้องการกระจายความเสี่ยงเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตโดยรวมของคุณมากขึ้น หรือมองหาที่พักเงินรอโอกาสในการลงทุน สนใจลงทุน Jitta Money เริ่มต้นเปิดบัญชีได้เลย เพียง 10,000 บาท เท่านั้น