แต่นอกเหนือจากการอัพเดตความรู้ในสายงานของตัวเองอย่างสม่ำเสมอแล้ว ชาครยังสนุกกับการอ่านหนังสือเพิ่มเติมความรู้ด้านอื่นๆ ในยามว่าง เลยเถิดไปถึงขั้นเป็นบรรณาธิการหนังสือแปลสายวิทยาศาสตร์ระดับเบสต์เซลเลอร์อย่าง What if? จะเกิดอะไรขึ้นถ้า... และอีกบทบาทที่เป็นพาร์ตสำคัญ คือการเป็นนักลงทุนที่มีเป้าหมายเพื่อคลายความกังวลในการใช้ชีวิต
แต่ไม่ว่าจะบทบาทไหน หลักการที่ชาครเชื่อมั่นว่าเหมาะสำหรับทุกการใช้ชีวิตคือ ‘ความเรียบง่าย’
ถ้าไม่ลงทุนคือคุณจะเสียเงินที่อุตส่าห์หามาไปเรื่อยๆ จำนวนเงินของคุณอาจไม่ได้หายไปไหน แต่มูลค่าเงินจะน้อยไปตามกาลเวลา แต่ทีนี้จะลงทุนอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความรู้และการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคน ทุกวันนี้ผมเลือกลงทุนหลากหลายรูปแบบ ก่อนการลงทุน สิ่งแรกที่ต้องมีคือเงินสดสำรองเผื่อใช้ในยามฉุกเฉิน แล้วหลังจากนั้นค่อยเอาไปจัดสรรปันส่วน ทั้งพันธบัตร หุ้นกู้ อสังหาริมทรัพย์ และอีกส่วนที่ต้องการลงทุนระยะยาวจริงๆ ก็ฝากไว้ให้จิตตะช่วยดูแล
การลงทุนมีหลายแบบก็จริง แต่อุปสรรคสำคัญในการลงทุนทุกรูปแบบคือ วินัย หลายคนเล่นหุ้นโดยตั้งเป้าหมายว่าจะเป็น VI (Value Investment) แต่พอเริ่มได้กำไรนิดหน่อยก็ขายหุ้นแล้ว ไม่ได้มีวินัยมากพอจะทำตามที่ตั้งใจไว้จริงๆ หรือบางครั้งเลือกซื้อหุ้นสักตัวเพราะมั่นใจว่าดี อ่านข้อมูลมาเยอะก่อนตัดสินใจแล้ว แต่พอลงทุนไปแล้วไม่มีแนวโน้มจะเติบโตหรือได้กำไรเร็วๆ สักทีก็เสียความมั่นใจ เอ๊ะ เราวิเคราะห์ผิดเหรอ แล้วก็ไม่อดทนจนขายหุ้นทิ้งไปเลย ทั้งที่หากทนอีกหน่อยก็ได้ผลตอบแทนที่ดีแล้ว และอุปสรรคอีกอย่างคือ ความไม่รู้ ไม่มีเวลาศึกษา ซึ่งจิตตะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ทั้งรวมรวบข้อมูลที่นักลงทุนควรต้องรู้ ออกแบบให้เข้าใจง่าย และใช้หลักการลงทุนที่เชื่อถือได้
การเงินกับการแพทย์ใช้หลักเดียวกันผมศรัทธาในหลักการที่คุณเผ่า (ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ - ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ jitta.com และ Jitta Wealth) อธิบายไว้ว่าหลักการลงทุนข้อแรกคือต้อง ‘ง่าย’ ซึ่งความง่ายนี้ไม่ใช่ชุ่ย แต่คือการทำความเข้าใจเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง แล้วย่อยออกมาให้เข้าใจง่าย เพราะแม้แต่หลักการวินิจฉัยทางการแพทย์ก็เป็นแบบนั้น
อย่างที่รู้กันว่าสมองของคนเราเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนที่สุดในร่างกาย แต่ละส่วนของสมองก็มีหน้าที่พิเศษ เวลาเราเจอคนไข้ที่ดูเหมือนมีอาการหลายๆ อย่างร่วมกัน
เราต้องคิดก่อนว่าอาการที่เขาเล่ามานั้นเป็นปัญหาที่เกิดจากสาเหตุเดียวกันไหม มีที่มาจากจุดเดียวกันหรือเปล่า ถ้าคำอธิบายไหนเริ่มซับซ้อน ดูจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แปลว่าไม่ใช่แล้ว เราน่าจะไปผิดทาง
หลักการที่ Jitta Wealth เลือกใช้และทำให้ผมเชื่อคือ Quantitative Value Investing หรือ QVI พูดง่ายๆ คือการวิเคราะห์ทุกอย่างบนมาตรฐานเดียวกัน หากจะดูว่าหุ้นตัวไหนดีหรือไม่ดี เขาก็จับหุ้นทุกตัวมาให้คะแนนด้วยเกณฑ์เดียวกันเลย หุ้นตัวหนึ่งจะดีได้เพราะอะไรบ้างล่ะ เพราะฐานะการเงินมั่นคงแข็งแรง บริษัทเติบโตก้าวหน้าดี มีโอกาสทำกำไร หรือราคาหุ้นต่ำ ก็ให้คะแนนไปตามเกณฑ์นั้น แล้วก็จัดอันดับตามคะแนนเลย การลงทุนตามหลักการนี้คือเราต้องซื้อหุ้น 20-30 อันดับแรกให้หมด เพราะเราไม่รู้ว่าหุ้นตัวไหนจะเป็นตัวทำกำไรสูงสุด หุ้นบางตัวอาจไม่โดดเด่นมาก แต่โดยเฉลี่ยในระยะยาวแล้วจะให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจแน่นอน ซึ่งกฎข้อนี้ถูกพิสูจน์มาแล้วว่ามันใช้ได้ผล
เป้าหมายของผมก็คล้ายๆ กับคนส่วนใหญ่ในยุคนี้ที่อยากมีอิสรภาพทางการเงิน ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมากเพียงพอที่จะไม่ต้องกังวลกับชีวิตประจำวัน และการมีตัวช่วยอย่าง Jitta Wealth ก็ทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก