รู้จัก M-commerce ธุรกิจมาแรงจากธีมอีคอมเมิร์ซ
ไฮไลต์
- การซื้อของออนไลน์เติบโตมาก่อน Covid-19 นานกว่าทศวรรษ และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เพราะมันได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณไปแล้ว
- ภาพรวมของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตลอด 2 ปีในช่วง Covid-19 เติบโตเทียบเท่ากับตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพราะผู้บริโภคต้องการความคุ้มค่า และความสะดวกสบายมากขึ้นในการจับจ่ายซื้อของ ธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซเติบโตตามกัน ผลักดันให้หลายๆ บริษัทเพิ่มงบประมาณในการพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซ
- รู้จัก M-commerce (Mobile Commerce) คือ การซื้อขายสินค้าผ่านสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์พกพาไร้สาย ที่มีความคล่องตัวมากกว่าและกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีสัดส่วนยอดขายมากกว่าครึ่งในแพลตฟอร์มของอีคอมเมิร์ซ
- หลังจากปี 2563 M-commerce จะมีมูลค่าใหญ่กว่าการซื้อขายจากช่องทางออนไลน์อื่นๆ คาดว่า 72% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็น M-commerce ภายในสิ้นปี 2564 หรือเกือบ 3 ใน 4 เลยทีเดียว
- ปี 2563 ProShares Online Retail ETF (ONLN) มีการเติบโตสูงมากถึง +111.82% แต่ในปี 2564 ผลตอบแทน ONLN ลดลง -25.22% ซึ่งเป็นในทิศทางเดียวกันในกลุ่ม ETF ของอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากราคา ETF เป็นขาลงเมื่อเทียบกับปี 2563 จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผู้คนสามารถออกไปจับจ่ายซื้อของได้เอง
คุณคิดว่า ชีวิตคุณเปลี่ยนแปลงไปมาน้อยแค่ไหนจากวิกฤตโรคระบาด Covid-19
คุณคงคิดไปถึงวิถีชีวิตแบบ New Normal ซึ่ง 1 ในนั้น คือ การซื้อของออนไลน์ จริงๆ เทรนด์นี้ เกิดขึ้นก่อน Covid-19 มานานนับทศวรรษแล้ว เพียงแต่ว่า ปริมาณการใช้งานและยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่เกิดโรคระบาด
คำถามต่อมา คือ ร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าต่างเปิดดำเนินการเป็นปกติแล้ว คุณยังคงซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์อยู่หรือไม่ คำตอบก็คือ…ใช่
ผ่านมาแล้วกว่า 2 ปี ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคระบาด ผู้คนทั่วโลกต้องเริ่มเรียนรู้การใช้แพลตฟอร์ม E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) และ E-marketplace (อีมาร์เก็ตเพลส) มากขึ้น รวมไปถึง CF (Confirm) สินค้าผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ตอนนี้การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันแล้ว
ตราบใดที่อินเทอร์เน็ตยังจำเป็นต่อผู้คนทั่วโลก…ยังไงการซื้อของออนไลน์จะไม่หายไปไหน เพียงยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า รูปแบบในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร
หากคุณกำลังสนใจหรือเริ่มต้นลงทุน คุณไม่จำเป็นต้องมองหาอะไรที่ไกลตัวเลย ลองเริ่มมองจากสิ่งรอบตัวหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ลองหยิบสมาร์ตโฟน ที่เปรียบเสมือนอวัยวะที่ 33 ของคุณขึ้นมา แล้วดูไปที่แอปพลิเคชันที่คุณใช้เป็นประจำ โทรศัพท์ของคุณมีแอปพลิเคชันอะไรบ้าง
ในบรรดาหลายสิบหลายร้อยแอปบนสมาร์ตโฟน…มีอย่างน้อย 1 แอปพลิเคชันสำหรับการซื้อของออนไลน์ใช่หรือไม่
เท่ากับว่า…คุณมีแพลตฟอร์มซื้อของออนไลน์ฝังอยู่ในวิถีชีวิตคุณแล้ว บทความนี้จะพาคุณไปหาโอกาสลงทุนในเมกะเทรนด์ชอปปิงออนไลน์
ภาพรวมอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงในรอบทศวรรษ
ธุรกิจการซื้อขายของออนไลน์ เรียกกันติดปากว่าเป็นอีคอมเมิร์ซ กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตเกินหน้าเกินตาธุรกิจอื่นๆ ในปี 2563 เพราะผู้คนทั่วโลกจำเป็นต้องจับจ่ายซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ แทนการไปเลือกด้วยตัวเอง จึงเป็นปีที่อีคอมเมิร์ซพุ่งแรงสูงที่สุดในรอบทศวรรษ
ปัจจัยเร่งสำคัญ คงหนีไม่พ้นโรคระบาด Covid-19 ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคุณ รวมไปถึงอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวตาม เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อความอยู่รอด ในวันที่ทุกคนเดินทางไปเลือกของที่หน้าร้านไม่ได้
เสริมมาด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การซื้อของออนไลน์เป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น คนทุกเพศทุกวัยต้องปรับตัวตาม สั่งซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน้อยๆ ก็ต้องสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน
ภาพรวมกับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นบ้างกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลก
- การเติบโตของอีคอมเมิร์ซเพียง 3 เดือนในช่วง Covid-19 เวฟแรก เทียบเท่าการเติบโตตลอดทศวรรษ เป็นผลมาจากการล็อกดาวน์ อย่างฉับพลันของหลายๆ ประเทศ ผู้คนไม่สามารถออกไปจับจ่ายใช้สอยได้ ทางเลือกเดียวก็คือบริการอีคอมเมิร์ซ ข้อมูลของ ZDnet.com พบว่า ในสหรัฐฯ มีสัดส่วนการใช้งานอีคอมเมิร์ซในช่วง 3 เดือนแรกของการระบาดเท่ากับตัวเลขการเติบโตกว่า 10 ปีที่ผ่านมา
- ห่วงโซ่อุปทานชะงัก หรือ Supply Chain Disruption ผู้บริโภคต้องการความคุ้มค่า และความสะดวกสบายมากขึ้น การล็อกดาวน์ทำให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป Mckinsey&Company ทำการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลก มากกว่า 60% มองหาความคุ้มค่า และความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า ดังนั้นผู้บริโภคจะมองหาสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ สินค้าบางรายการมีความต้องการมหาศาลจนผลิตไม่ทัน หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมียอดสั่งซื้อสูงมากๆ จนส่งสินค้าล่าช้า
- ธุรกิจต่างๆ เพิ่มงบประมาณในอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจของ SearchNode สำรวจผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในธุรกิจขายปลีกในยุโรปและสหรัฐฯ พบว่ากว่า 78% ตัดสินใจเพิ่มงบในการพัฒนาแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
- ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อมีโรคระบาดที่ต้องล็อกดาวน์ ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน ซึ่งธุรกิจกว่าครึ่งมีรายได้พุ่งสูงถึง 100% และมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์มาเน้นทำธุรกิจออนไลน์กันมากขึ้น และแน่นอนว่า อีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้พวกเขาเติบโตได้เมื่อเผชิญกับวิกฤต
- แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็ต้องพัฒนาเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เริ่มต้นมาจากอีมาร์เก็ตเพลสที่แม้จะเข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ แต่ก็มีต้นทุนและข้อจำกัดไม่น้อย ธุรกิจหลายๆ เจ้าจึงหันมาพัฒนาช่องทาง Direct to Customer หรือการเข้าถึงลูกค้าโดยตรง
- เทคโนโลยีการเงิน (Fintech) มีส่วนช่วยให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีความคล่องตัวมากขึ้น ช่องทางการชำระเงินเป็นตัวเสริมพลังให้กับธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์ เมื่อฟินเทคพัฒนามากขึ้น เสริมทัพธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ยิ่งเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้บริโภคมีทางเลือกการชำระเงินได้มากขึ้น
ภาพรวมในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่ทำให้ธุรกิจซื้อขายออนไลน์มีการเติบโตอย่างชัดเจน ยอดขายไม่ได้เกิดจากการสั่งซื้อผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังรวมไปถึงสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตด้วย
“ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด Covid-19 ไม่ได้เป็นเพราะผู้ใช้งานใหม่ๆ หันมาซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่ร้านค้าต่างๆ ก็ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน เพื่อให้ธุรกิจยืนหยัดต่อไปและได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น” คำกล่าวนี้เป็นของ Paul H.Muller เป็น Co-founder และ CEO ของ Adjust สตาร์ตอัปที่ให้บริการแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
รู้จัก M-commerce น่าสนใจอย่างไร
คุณคงไม่ปฎิเสธว่า สมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่คุณขาดไม่ได้ และอินเทอร์เน็ตมีความจำเป็นอย่างมากในการใช้ชีวิตของผู้คนยุคนี้
จึงเกิดเทรนด์ M-commerce หรือ Mobile Commerce การซื้อขายสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์พกพาไร้สายอย่างแท็บเล็ต ขึ้นมา เกิดจากการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อให้คุณสามารถชอปปิงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยคุณไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว
รายงานของ E-commerce App Report 2021 Top Trends โดย Sensor Tower ระบุว่า หลังจากปี 2563 M-commerce จะมีมูลค่าใหญ่กว่าการซื้อขายจากช่องทางอื่นๆ ของทั้งระบบอีคอมเมิร์ซ
ข้อมูลจาก Statista ระบุว่า คาดว่า ปี 2564 สัดส่วน 54% ของยอดขายของออนไลน์ทั้งหมด จะมาจาก M-commerce ยอดขายรวมทั่วโลกจะแตะ 3.56 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น +22.3% จากปี 2563
หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ยุคแรกๆ ของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ การซื้อขายสินค้าและบริการต่างๆ ทำอยู่บนเว็บไซต์ ในช่วงเวลานั้น คุณอาจจะไม่ได้รู้สึกว่า มันใช้สะดวกไปกว่าการไปเลือกซื้อของด้วยตัวเอง ที่สามารถจับต้องสินค้าได้ รวมถึงความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยที่ยังไม่มีความแน่นอน
จนมีการพัฒนาของหน้าตาเว็บไซต์ ให้เป็นแพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลสที่ออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งานและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ด้วยคุณภาพของรูป ความแรงของอินเทอร์เน็ต หรือระบบการสนทนาที่ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลของร้านค้าและผู้ซื้อ มีการยืนยันตัวตน ที่เพิ่มความน่าเชื่อถือเข้าไปอีก
จากแพลตฟอร์มที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว เข้ามาสู่ยุคที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตพัฒนาไปไกลจนเปรียบเสมือนอวัยวะที่ 33 สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว มูลค่าของ M-Commerce จึงเติบใหญ่ขึ้นในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในโลกยุคดิจิทัล
จากข้อมูลของ eMarketer ระบุว่า ยอดค้าปลีกของ M-commerce ของสหรัฐฯ เติบโต +41.4% ในปี 2563 และจะเพิ่มขึ้นอีก +15.2% ในปี 2564 สู่ระดับ 359,320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยอดขายรายปีจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2564-2568
นอกจากนี้ Statista ระบุว่า สถิติการเติบโตของ M-commerce เห็นได้ชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2559 และ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 33.8% ต่อปี ไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง
ไม่ใช่แค่นั้น 72% ของยอดขายอีคอมเมิร์ซทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็น M-commerce ภายในสิ้นปี 2564 หรือเกือบ 3 ใน 4 เลยทีเดียว นั่นหมายความว่า M-commerce เป็นทิศทางที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ เพราะ M-commerce มีลักษณะเฉพาะที่ตอบโจทย์ผู้ซื้อผู้ขายในยุคนี้มากกว่า สามารถสั่งซื้อผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตได้เลย ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ขอเพียงมีอินเทอร์เน็ต
สรุปได้ว่า M-commerce มีความคล่องตัวมากกว่าการสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์อื่นๆ ในระบบอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ยอดขายสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตทั่วโลกมีทิศทางขาขึ้นมาโดยตลอด รวมไปถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่หนุนธุรกรรม M-commerce อย่างกระเป๋าเงินดิจิทัล (E-wallet) ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook Twitter Instargram และ Line มีฟีเจอร์ปุ่ม ‘ซื้อ’ ผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อสินค้าจากผู้ค้าได้โดยตรง
รวมไปถึงผู้ค้าเองก็สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น สามารถติดต่อสื่อสารกันโดยตรง ส่งข่าวสาร คูปองส่วนลด หรือแม้กระทั่งผู้ซื้อเองก็สามารถรีวิวสินค้าหรือบริการให้กับผู้ซื้อรายอื่นได้อีกด้วย ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ M-commerce เติบโตไปได้อีก
ความสามารถในการติดตามตำแหน่งของช่องทางออนไลน์อื่นๆ ในระบบอีคอมเมิร์ชถูกจำกัด เนื่องจากคุณอาจจะไม่สามารถพกพาอุปกรณ์ได้ แต่สำหรับ M-commerce คุณสามารถพกพาอุปกรณ์ได้ ทำให้สามารถติดตามและระบุตำแหน่งของผู้ใช้ได้ผ่านอินเทอร์เน็ตไร้สาย เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี GPS
นอกจากนี้ M-commerce ยังมีความปลอดภัยสูงมาก โดยมีแพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยต่างๆ เช่น การตรวจสอบสิทธิ์สองปัจจัย (2FA หรือ Two-factor Authentication) และการรับรองความถูกต้องด้วยไบโอเมตริกซ์ (ผ่านการเรตินาสแกนใบหน้าหรือลายนิ้วมือ)
รู้จัก M-commerce โอกาสลงทุนอยู่ที่ไหน
จริงๆ แล้ว โอกาสลงทุนของ M-commerce ไม่ได้อยู่ไกลเลย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ จึงยังเป็น Thematic Investment ที่ยังมีโอกาสเติบโตในระยะยาว
จากที่เราได้ฉายภาพของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซที่เติบโตสูงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงที่เกิด Covid-19 ปี 2563 ธีมอีคอมเมิร์ซของกองทุนส่วนบุคคล Thematic ที่ลงทุนใน ProShares Online Retail ETF (ONLN) มีการเติบโตสูงมากถึง +111.82%
แต่ในปี 2564 ผลตอบแทน ONLN ลดลง -25.22% ซึ่งเป็นในทิศทางเดียวกันในกลุ่ม ETF (Exchange Traded Fund) ของอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากราคา ETF เป็นขาลงเมื่อเทียบกับปี 2563 จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เปิดเมือง คลายล็อกดาวน์ทั่วโลก ผู้คนสามารถออกไปจับจ่ายซื้อของได้เอง
ราคา ETF ธีมอีคอมเมิร์ซขาลง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เป็นภาวะที่นักลงทุนมองว่า มูลค่าการซื้อขายออนไลน์อาจจะลดลง จากความเปลี่ยนแปลงที่ทั่วโลกปรับตัวรับมือ Covid-19 ระบาดครั้งใหม่ๆ ได้ดีขึ้น ล็อกดาวน์แต่ละรอบไม่ยาวนานเหมือนตอนระบาดครั้งแรก
ถ้าคุณลงทุนใน ONLN ตั้งแต่ปี 2563 หรือก่อนหน้านั้น กำไรที่โตสูงมากๆ ก่อนหน้านี้ ก็ชดเชยการขาดทุนในปี 2564 ได้ นั่นหมายความว่า คุณควรลงทุนให้นานพอ
หากมองภาพระยะยาว ตัวคุณเองจะเลิกใช้บริการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์หรือไม่ ปริมาณการสั่งของลดลงหรือไม่ ถ้าคุณตอบได้ว่า ผู้คนทั่วโลกยังคงชอปปิงออนไลน์อยู่ ธีมอีคอมเมิร์ซก็จะสามารถเติบโตได้อีกในปี 2565 และปีต่อๆ ไป
พอมีเทรนด์ใหม่ๆ คุณได้ ‘เข้าใจ M-commerce’ มากขึ้น และพอจะเห็นภาพว่า แนวโน้มที่ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซทั่วโลกจะมุ่งพัฒนาต่อๆ ไป คือ พัฒนาแพลตฟอร์มชอปปิงออนไลน์ให้ใช้งานได้ดีและง่ายมากขึ้นผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต
ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon และ Alibaba รวมไปถึง Ebay Sea JD.com และผู้ให้บริการรายอื่นๆ ต่างพัฒนาแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ เพื่อซัปพอร์ตการใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตไปแล้ว
นั่นหมายความว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซปรับตัวรองรับกับเทรนด์ M-commerce ไปแล้ว และเตรียมพร้อมรับปริมาณคำสั่งซื้อที่จะเติบโตมากขึ้นในอนาคต
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณจะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ และเทรนด์อย่าง M-commerce เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวคุณมาก แค่ลองนับจำนวนชั่วโมงที่คุณอยู่กับหน้าจอสมาร์ตโฟน หรือจำนวนครั้งที่คุณกดซื้อของออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันต่อเดือน น่าจะตัวชี้วัดชั้นดีที่บอกคุณว่า อีคอมเมิร์ซยังอยู่ และ M-commerce ได้ไปต่อ
หากคุณสนใจลงทุนธีมอีคอมเมิร์ซ กองทุนส่วนบุคคล Thematic มีแผนให้คุณเลือกจัดพอร์ตเองสูงสุด 5 ธีมใน Thematic DIY และแผนให้ AI ของ Jitta Wealth วิเคราะห์ธีมที่น่าลงทุนที่สุดและจัดพอร์ต 4 ธีมใน Thematic Optimize หากธีมอีคอมเมิร์ซมีทิศทางการเติบโตที่ดี จะถูกนำมาจัดพอร์ตให้คุณอย่างแน่นอน
คุณสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://jittawealth.com/thematic หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth
กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01
ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
อ่านบทความ Thematic Investment เพิ่มเติม
Thematic Investment ทางเลือกการลงทุนในธีมที่คุณชื่นชอบ
ส่องพอร์ตปังๆ ของ Jitta Wealth ปี 2564 กำไรเกือบ 70%
16 ธีมจาก Thematic ปี 2564 ใครกำไร ใครขาดทุน
ส่อง 8 หุ้นบิ๊กแคปจีน ราคาดี พาพอร์ตทะยานฟ้า
อ้างอิง
- E-Commerce Trends 2021 เผยภาพรวมและแนวโน้มของการค้าในยุค Digital First https://www.scb10x.com/blog/ecommerce-trends-2021
- Mobile Commerce https://www.investopedia.com/terms/m/mobile-commerce.asp
- What Is The Difference Between E-Commerce And Mobile Commerce? https://www.forbes.com/sites/quora/2018/05/25/what-is-the-difference-between-e-commerce-and-mobile-commerce/?sh=5136f58f4c6d
- E-commerce App Report 2021 Top Trends in mobile shopping with insights from Sensor Tower https://a.storyblok.com/f/47007/x/69c8d70f06/211112_ecommerceappreport21_ebook_v04_en.pdf
- M-commerce Forecast 2021 https://www.emarketer.com/content/mcommerce-forecast-2021
- 65 Wowing M-commerce Statistics for 2021 https://techjury.net/blog/mcommerce-statistics/#gref
- Mobile commerce will lead the way in 2021 https://www.finextra.com/the-long-read/140/mobile-commerce-will-lead-the-way-in-2021
- E-commerce ETFs fail to mimic 2020 success https://www.trackinsight.com/en/article/e-commerce-etfs-fail-mimic-2020-success