Skip to content - ข้ามไปที่เนื้อหา
Blog

Value Investing คืออะไร ลงทุนอย่างไรให้รอดทุกวิกฤติ


Jitta Ranking Jitta Wealth

ไฮไลต์

  • Value Investing คือการลงทุนแบบเน้นมูลค่า ซื้อหุ้นดีที่ราคาถูกกว่ามูลค่าจริง แล้วถือยาวเพื่อรอให้มูลค่านั้นสะท้อนกลับมา
  • เน้นวิเคราะห์ธุรกิจ มองหาหุ้นคุณภาพ ราคาน่าสนใจ และให้เวลาในการเติบโต
  • ใช้ได้ดีในระยะยาว เพราะตลาดมักประเมินราคาผิดในช่วงสั้น การซื้อที่ราคาต่ำช่วยลดความเสี่ยง และให้ดอกเบี้ยทบต้นทำงานเต็มที่
  • จะเป็น VI เริ่มจากคิดแบบเจ้าของ เข้าใจธุรกิจ อ่านงบ ประเมินมูลค่า เผื่อความเสี่ยง และถือหุ้นอย่างมีวินัย
  • ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยวิเคราะห์หุ้น เช่น Jitta.com หรือ Morningstar เป็นต้น
  • Value Investing ไม่ใช่แค่กลยุทธ์ แต่เป็นแนวคิดที่ช่วยให้พอร์ตเติบโตมั่นคง และผ่านทุกวิกฤติได้อย่างมีหลักการ

Value Investing หรือการลงทุนเน้นมูลค่า ยังคงเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะผ่านมากี่วิกฤติ วิธีคิดนี้ก็ยังคงยืนหยัด 

โดยเฉพาะในปีที่ตลาดเผชิญกับความผันผวนจากเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีใหม่ และนโยบายการเงินที่เปลี่ยนแปลง 

บทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ ‘การลงทุนแบบ Value Investing’ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘การลงทุนแบบ VI’ 

และเหตุผลว่าทำไมปัจจุบันการลงทุนแบบนี้ถึงยังใช้ได้ดี และยั่งยืนในระยะยาว จนถึงการนำไปปรับใช้ เพื่อให้พอร์ตของคุณแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม

Value Investing คืออะไร? 

Value Investing หรือ ‘การลงทุนเน้นมูลค่า’ คือกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเน้นซื้อสินทรัพย์ ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) โดยเชื่อว่าตลาดจะค่อยๆ รับรู้มูลค่าที่แท้จริงในอนาคต และราคาจะปรับขึ้นในที่สุด 

จุดเด่นของการลงทุนแบบเน้นมูลค่า

  • วิเคราะห์พื้นฐานบริษัท (Fundamental Analysis)
  • มองหา ‘ของดีราคาถูก’ ในตลาด
  • ลงทุนระยะยาวด้วยความอดทน

ตัวอย่างของนักลงทุน VI ที่เราคุ้นเคยกันดีคือ Warren Buffett และ Charlie Munger ที่ใช้แนวทางนี้มายาวนานกว่า 50 ปี 

และยังคงเชื่อมั่นในหลักการนี้ แม้โลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม จนพา Berkshire Hathaway ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ทำผลตอบแทนรวม +5,502,284% ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา (ฟังเรื่องราวแบบเต็มๆ ได้ที่นี่

เหตุผลที่ทำให้ Value Investing ยั่งยืนในระยะยาว

ที่แนวทาง Value Investing หรือ การลงทุนแบบเน้นมูลค่า ‘เวิร์ก’ หรือใช้ได้ผลในระยะยาว เพราะมันตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์และพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งยังไม่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แม้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วแค่ไหนก็ตาม โดยสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

ตลาดมักประเมินราคาผิดในระยะสั้น (Market Inefficiencies)

ตลาดหุ้นในระยะสั้นมักถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์มากกว่าข้อมูล เช่น ความกลัว ความโลภ ข่าวลือ หรือกระแสชั่วคราว ทำให้บางครั้งราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก

นักลงทุนแบบเน้นมูลค่าจะใช้โอกาสนี้ ‘ซื้อของดีในราคาถูก’

พลังของ Margin of Safety

การซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) จะช่วยลดความเสี่ยงหากสมมติฐานผิดพลาด และเพิ่มโอกาสทำกำไรหากบริษัทเติบโตได้ตามคาด

พลังของการถือยาวและดอกเบี้ยทบต้น

หุ้นดีๆ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจะสร้างผลตอบแทนทบต้น (​​Compound Interest) ให้กับผู้ถือหุ้นที่อดทน ถือครองระยะยาวโดยไม่ขายออกบ่อยครั้ง

ซึ่ง ปู่ Buffett มักยกตัวอย่างการลงทุนใน Coca-Cola ที่เขาถือมากว่า 30 ปี และให้เงินปันผลเพิ่มขึ้นทุกปี

เข้าใจธุรกิจ = เข้าใจความเสี่ยง

นักลงทุนแบบเน้นมูลค่าจะเลือกลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจอย่างถ่องแท้เท่านั้น (Circle of Competence) เช่น เข้าใจว่าบริษัทหาเงินจากไหน โมเดลธุรกิจมีความยั่งยืนหรือไม่ มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันหรือไม่

การเข้าใจธุรกิจอย่างแท้จริงจะช่วยให้ไม่ตื่นตระหนกเมื่อราคาหุ้นตก เพราะรู้ว่าธุรกิจยังมั่นคง

ภาพ 3 แนวคิดลงทุนแบบ VI ให้ประสบความสำเร็จ ข้อที่ 1 เปลี่ยนมุมมอง มองการลงทุน คือการเป็นเจ้าของ เข้าใจธุรกิจ อ่านตัวเลขงบการเงินเบื้องต้นเป็น ประเมินมูลค่าหุ้นได้ เข้าใจธุรกิจเท่ากับเข้าใจความเสี่ยง ข้อที่ 2 หาโอกาสให้เจอ วิเคราะห์ให้ทะลุ มองให้กระจ่าง หาหุ้นดีราคาถูกให้เจอ แม้แต่ในช่วงวิกฤติที่คนไม่อยากลงทุนวิกฤติ เท่ากับโอกาสของคนที่พร้อม ข้อที่ 3 ให้เวลา แสดงศักยภาพ ให้เวลาธุรกิจที่ดี ได้เติบโต ปล่อยให้ดอกเบี้ยทบต้นทำงาน ไม่ตื่นตระหนกเพราะข่าวร้ายระยะสั้น เวลาเท่ากับสารอาหารชั้นที่ที่จะทำให้พอร์ตโต

วิธีเริ่มต้นลงทุนแบบ Value Investor ใน 6 ขั้นตอน

1. เปลี่ยนมุมมอง คิดแบบเจ้าของธุรกิจ

Value Investor มอง ‘หุ้น’ เป็น ส่วนหนึ่งของธุรกิจ ไม่ใช่แค่กระดาษหรือราคาที่ขึ้นๆ ลงๆ ก่อนซื้อหุ้น ให้ถามตัวเอง

  • ถ้าต้องซื้อทั้งบริษัทนี้ เราจะซื้อไหม?
  • เข้าใจไหมว่าบริษัทนี้หาเงินจากอะไร?

2. เข้าใจธุรกิจที่กำลังจะลงทุน (Circle of Competence)

เข้าใจว่าธุรกิจที่คุณจะลงทุน คืออะไร ผลิตภัณฑ์เป็นแบบไหน อย่าลงทุนในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ เพราะคุณจะประเมินมูลค่าไม่ถูก และตื่นตระหนกเวลาราคาผันผวน 

เช่น ถ้าคุณรู้จักแบรนด์สินค้าอุปโภคบริโภค อย่าง โค้ก หรือ ปตท. ก็ถือว่าคุณเข้าใจโมเดลธุรกิจระดับหนึ่งแล้ว ไม่ใช่อยู่ๆ บริษัท A หุ้นโต 20% คุณก็เข้าซื้อเลย โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นบริษัทเกี่ยวกับอะไรด้วยซ้ำ

3. อ่านงบการเงินเบื้องต้นให้เป็น

ไม่ต้องอ่านแบบนักบัญชี แต่ควรรู้ว่าต้องดูอะไร เพื่อให้สามารถประเมินบริษัทหรือหุ้นที่คุณจะเข้าลงทุนได้ เช่น

  • รายได้ (Revenue): บริษัทขายของได้เงินเท่าไหร่?
  • กำไรสุทธิ (Net Profit): เหลือกำไรจริงเท่าไหร่?
  • ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE): บ่งชี้ว่าบริษัทใช้ทุนผู้ถือหุ้นได้คุ้มค่าหรือไม่
  • หนี้สิน (Liabilities): บริษัทมีหนี้มากเกินไปหรือไม่? มีแรงกดดันเรื่องดอกเบี้ยไหม?

4. ประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation)

Value Investor จะไม่ซื้อหุ้นตามกระแส แต่จะซื้อเมื่อ ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value)

  • ใช้เครื่องมืออย่าง P/E P/BV เพื่อประเมินว่าหุ้นถูกหรือแพง
  • บางคนอาจใช้ DCF (Discounted Cash Flow) แต่สำหรับมือใหม่ ให้เน้นดูตัวเลขพื้นฐานก่อนก็เพียงพอ

เทคนิคง่ายๆ:

  • หุ้น P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม อาจน่าสนใจ แต่ต้องดูคุณภาพธุรกิจประกอบด้วย
  • ถ้า ROE สูงสม่ำเสมอ และ กำไรโตต่อเนื่อง = ธุรกิจแข็งแกร่ง

5. มองหา Margin of Safety 

ต่อให้คุณคำนวณเก่งแค่ไหน ก็มีโอกาสผิดพลาด ดังนั้นการซื้อหุ้นในราคาที่เผื่อความเสี่ยงไว้แล้ว จะช่วยลดความเสียหายหากผิดคาด

เช่น ถ้าคิดว่ามูลค่าหุ้นคือ 100 บาท อย่าซื้อที่ 95 – ควรรอซื้อที่ 70-80 เพื่อมี Margin of Safety

6. ถือหุ้นระยะยาวแบบมีวินัย

  • ไม่จำเป็นต้องซื้อ-ขายบ่อย
  • ให้เวลาธุรกิจเติบโต และปล่อยให้ดอกเบี้ยทบต้นทำงาน
  • อย่าตื่นตระหนกเพราะข่าวร้ายระยะสั้น

ข้อสุดท้ายถือว่าสำคัญที่สุด เพราะหากคุณไม่มีวินัย สุดท้ายสิ่งที่ทำมาทั้งหมดอาจสูญเปล่าก็ได้

ตัวช่วยสำหรับนักลงทุน VI

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีและการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ทันสมัยมากขึ้น มีโปรแกรมรวมรวมและประมวลผลมากมาย ที่จะช่วยวิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ แทนคุณ 

ไม่ว่าจะเป็น Jitta.com ที่รวบรวมข้อมูลหุ้นกว่า 28 ประเทศทั่วโลก พร้อมตัวช่วยคำนวณคุณภาพ Jitta Score และตัวช่วยประเมินราคา Jitta Line พร้อมจัดอันดับหุ้น ดีราคาถูก ในแต่ละประเทศให้คุณเลือกลงทุน 

หรือจะเป็น Morningstar ที่มีรายงานวิเคราะห์หุ้นพื้นฐานดีต่างๆ ให้คุณศึกษา เป็นต้น 

หรือหากคุณไม่มีเวลา ก็สามารถลงทุน หุ้นคุณภาพดีราคาถูกระดับท็อป กับ Jitta Wealth ได้ในนโยบาย Jitta Ranking โดยสามารถเลือกประเทศที่ต้องการลงทุน 

ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไทย หรือจะให้ Alpha  AI เลือกประเทศน่าลงทุนในแต่ละปีให้ด้วย ก็สามารถลงทุนในนโยบาย Jitta Ranking Alpha ได้เลย

แม้ปัจจุบันโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน ตลาดจะผันผวนมากขึ้นเท่าไหร่ แต่หลักคิดของ Value Investing ก็ยังเป็นเครื่องมือที่มั่นคงและทรงพลังสำหรับนักลงทุนระยะยาว

ทำให้ Value Investing ไม่ใช่แค่วิธีลงทุน แต่คือปรัชญาที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ถ้าคุณเข้าใจธุรกิจ ลงทุนด้วยวินัย และอดทนรอผลตอบแทน ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล