Trump ขึ้นภาษี รับมือด้วย 3 ขั้นตอนนี้ ไม่แพ้ Trade War

กระแสข่าวของ Trade War ตลอด 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา พูดได้เลยว่า… เปลี่ยนแปลงเป็นรายชั่วโมง ตั้งแต่วินาทีที่ Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้าทุกประเภททั่วโลกที่สหรัฐฯ นำเข้า และบวกเพิ่มเฉพาะบางประเทศ ที่รายชื่อยาวเป็นหางว่าว
หลังจากนั้นประเทศคู่ค้าหลายประเทศก็อยู่ไม่เป็นสุข พยายามหาทางเจรจากับ Trump เพื่อจุดตรงกลางที่ไปด้วยกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย ทำให้ช่วงนี้ตลาดหุ้นผันผวน เพราะความไม่แน่นอน และไม่แน่นิ่ง ทุกอย่างยังพร้อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การเตรียมตัวรับมือไว้ย่อมดีที่สุด มาวิเคราะห์สถานการณ์ เข้าใจปัญหา และหาคำตอบว่าควรทำอย่างไรเพื่อเป็นผู้ชนะใน Trade War ในบทความนี้ได้เลย
วิเคราะห์สถานการณ์
หากย้อนดูผลตอบแทนดัชนี S&P 500 ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ต่อให้ไม่มี Trade War ก็มีโอกาสที่ผลตอบแทนจะอยู่ในแดนลบอยู่แล้วด้วยกลไกของตลาดหุ้น เพราะในปี 2566 และ 2567 ดัชนีเป็นบวกติดต่อกัน 2 ปี รวมๆ บวกไปประมาณ +50%
และถ้าย้อนดูให้กว้างขึ้นในดัชนีตลาดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นดัชนี CSI 300 ดัชนี HSI ดัชนี TOPIX ดัชนี SET และดัชนี VNI ในปี 2567 ที่ผ่านมาก็ทำผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด คล้ายๆ กับปี 2560 และพอปี 2561 ดัชนีทั้งหมดที่ว่ามาก็ติดลบ
คำถามที่น่าสนใจต่อมาคือ ตกตอนนี้แล้ว แต่จะกลับมาได้อีกเมื่อไร
ในวิกฤติที่ผ่านๆ มา เราจะเห็นภาพว่า วิกฤติเหล่านั้นจะคลี่คลายได้อย่างไร และเมื่อปัญหาถูกแก้ไข วิกฤติจบ ดัชนีหุ้นต่างๆ ก็จะขึ้นมา
เหตุการณ์ครั้งนี้ก็คล้ายๆ กับวิกฤติหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น การประกาศทำสงคราม ย่อมพาตลาดหุ้นผันผวนเพราะอารมณ์กลัวของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่แปรปรวน แต่เมื่อทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น ว่าจะออกหัวหรือก้อย ตลาดหุ้นก็มักจะกลับมาทำงาน ในแบบที่ควรจะเป็น หุ้นพื้นฐานดี ก็ดีอยู่วันยันค่ำ
ส่วนวิกฤติในครั้งนี้ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การตัดสินใจของ Trump ซึ่งยังไม่มีใครตอบได้ และยังต้องดูต่อไปเป็นหน่วยนาที แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์จะคลี่คลาย และตลาดหุ้นจะกลับมาได้ในท้ายที่สุด
ย้อนอดีต หาคำตอบ
สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง
- Smoot Hawley Act (The Great Depression) เมื่อปี 2473 ดัชนี Dow Jones ปรับลดลงกว่า 79% และใช้เวลาฟื้นฟูกว่า 11 ปี
- Nixon Shock (End of Bretton Woods) ปี 2514 ทำให้ ดัชนี Dow Jones Industrial ปรับลดลงมากกว่า 30% ในระยะเวลา 3 ปี
- Plaza Accord (Correct Trade Imbalance) ปี 2528 ค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนค่าลงกว่า 25.69% ภายใน 2 ปี
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เหตุผลหนึ่งคือเป็นเพราะสหรัฐฯ ยอมให้เกิดความผันผวนระยะสั้นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในระยะยาว เป็นการจัดเกณฑ์ใหม่เพื่อให้ตัวเองสามารถอยู่ต่อได้ในระยะยาว
หลังวิกฤติ ย่อมทะลุนิวไฮเสมอ

ย้อนกลับไป 25 ปีที่ S&P 500 ฝ่าวิกฤติต่างๆ มา ใช้เวลาฟื้นตัวที่แตกต่างกัน
- วิกฤติ Dot-Com ใช้เวลาฟื้นตัว 13 ปี
- วิกฤติ Sub-prime (US Housing Crisis) ใช้เวลาฟื้นตัว 5 ปี นับจากระดับดัชนี S&P 500 ต้นปี 2550
- วิกฤติ Trade War (Trump สมัยแรก) ใช้เวลาฟื้นตัว 7 เดือน นับตั้งแต่จุดสูงสุดของปี 2561
- วิกฤติ Covid-19 ใช้เวลาฟื้นตัว 8 เดือน
- วิกฤติเงินเฟ้อ ใช้เวลาฟื้นตัว 2 ปี
ในระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา วิกฤติต่างๆ ใช้ระยะเวลาในการคลี่คลายได้เร็วขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเช่นกัน และที่สำคัญทุกครั้งที่เกิดวิกฤติตลาดหุ้นก็สามารถเติบโตและทะลุนิวไฮเดิมเสมอ
เราอาจจะคาดเดาไม่ได้ว่า วิกฤติตอนนี้จะจบอย่างไร และจบเมื่อไร แต่ทุกวิกฤติจะมีวันจบ และดัชนีก็จะเติบโตต่อไปได้เหมือนที่ผ่านๆ มา ทำให้สิ่งที่ควรทำตอนนี้คือ การหาโอกาสที่อยู่ในวิกฤติ
ลงทุนในวิกฤติ ดีจริงหรือไม่
ถ้าคุณสามารถย้อนเวลากลับไปลงทุนในวิกฤติต่างๆ และถือมาเรื่อยๆ ผลลัพธ์จะดีจริงหรือไม่
- วิกฤติสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ตั้งแต่ 2565 – 2568 ดัชนี S&P 500 บวกเพิ่มขึ้นมา +15.45%
- วิกฤติเงินเฟ้อ Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย ปี 2565 ตั้งแต่ 2565 – 2568 ดัชนี S&P 500 บวกเพิ่มขึ้นมา +11.35%
- วิกฤติ Covid 19 ตั้งแต่ปี 2563 – 2568 ดัชนี S&P 500 บวกเพิ่มขึ้นมา +56.69%
ตัวเลขเหล่านี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า วิกฤติไม่ได้น่ากลัว ถ้าคุณเห็นโอกาส
อ่านบทความเพิ่มเติม ลงทุนก่อน ระหว่าง หรือวิกฤติดีกว่า?
เข้าใจ รับมือ หาโอกาส แล้วจะชนะ
จะรับมืออย่างไรให้ดีที่สุด นี่คือ 3 ขั้นตอนที่จะทำให้คุณชนะใน Trade War
- นิ่ง ตั้งสติ ทำความเข้าใจ
Warren Buffett เคยพูดถึงบทกวีหนึ่งที่ชื่อว่า If ของ Rudyard Kipling ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19
“If you can keep your head when all about you are losing theirs.” ถ้าคุณรักษาสติได้ ในยามที่คนรอบข้างเสียสติ…
เอามาใช้เตือนใจได้ดีมากในสถานการณ์ปัจจุบัน ข่าวสารมากมายในช่วงนี้เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน ซึ่งกระทบกับความรู้สึกของนักลงทุนอยู่แล้ว และใครที่จิตใจแข็งแกร่ง ย่อมชนะ
นักลงทุนควรโฟกัสในสิ่งที่เราควบคุมได้คือ การเลือกบริษัทที่เราจะลงทุน หรือควรจัดพอร์ตแบบไหนดี
- จัดพอร์ต รับมือ ลงทุนเพิ่ม
ที่ผ่านมา Jitta Wealth แนะนำการจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite มาตลอด เพราะเป็นการจัดสรรค์สินทรัพย์ (Asset Allocation) รูปแบบหนึ่ง เพื่อการบริหารความเสี่ยง โดยเป็นการจัดพอร์ตที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- Core Port: รากฐานของการลงทุน กระดูกสันหลังของการเติบโตในระยะยาว เน้นพึ่งพิงได้ ไม่หวือหวา
- Satellite Port: โครงสร้างต่อเติมเสริมจากรากฐาน เพื่อบูสต์การเติบโต เน้นคว้าโอกาสทำกำไรสูงขึ้น แต่ความเสี่ยงก็มากขึ้นด้วย
ลองมาทบทวนพอร์ตลงทุนของคุณว่า คุณได้กระจายความเสี่ยง ให้พอร์ตโดยรวมแข็งแกร่งแล้วหรือยัง
นโยบายของ Jitta Wealth ที่เราแนะนำในการใช้จัดพอร์ต Core & Satellite คือ
- นโยบาย Global ETF เหมาะที่จะเป็นพอร์ตหลัก (Core Port)
- นโยบาย Jitta Ranking แผนต่างๆ Jitta Ranking Alpha และ นโยบาย Thematic ที่เหมาะจะเป็นพอร์ตรอง (Satellite Port)
ซึ่งสัดส่วนที่เราแนะนำคือ Core 80% และ Satellite 20% แต่คุณก็สามารถเลือกสัดส่วนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของคุณได้
หากคุณยังไม่ได้เริ่มจัดพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง ก็สามารถลงทุนเพิ่มในนโยบายนั้นๆ เพื่อจัดพอร์ตโดยรวมให้เหมาะสมได้ หรือหากมีทั้งพอร์หลัก และพอร์ตรองแล้ว ก็สามารถเพิ่มทุนปรับสัดส่วนให้พอร์ตหลัก (Core Port) อยู่ที่ 80% ได้เช่นกัน
หรือหากมองหาการลงทุนเพิ่ม เพื่อคว้าโอกาสในวิกฤติ ก็สามารถลงทุนเพิ่มในพอร์ตรอง (Satellite Port) ได้ โดยตลาดหุ้นที่แนะนำในตอนนี้คือ จีน แม้จะได้รับผลกระทบจากภาษี แต่ก็แข่งแกร่ง และหุ้นก็ยังถูกอยู่มาก จะลงเป็น Jitta Ranking หุ้นจีน หรือ Jitta Ranking Alpha ก็ได้ เพราะขณะนี้ Alpha AI เลือกจีนเป็นตลาดหุ้นที่น่าลงทุนที่สุด
แต่ถ้ามีงบจำกัด คุณก็สามารถจัดพอร์ตหุ้นจีนได้ผ่าน ETF ด้วยนโยบาย Thematic DIY
อีกกลยุทธ์หนึ่งที่ทำได้ทุกๆ วิกฤติคือ การถัวเฉลี่ยต้นทุนด้วยวินัยอย่างการ DCA ไม่ต้องเก็งว่าเมื่อไรควรจะซื้อขาย การอยู่ในตลาดช่วงขาลง จะช่วยให้คุณไม่พลาดโอกาสทำผลตอบแทนในตอนที่ตลาดกลับตัว หรือหากคุณมีวินัยในการลงทุนอยู่แล้ว ก็ให้ทำต่อไป
- คว้าโอกาสเริ่มลงทุน
“To be fearful when others are greedy, and to be greedy only when others are fearful” จงกลัวในยามที่ทุกคนโลภ และโลภในยามที่ทุกคนกลัว
“Bad news is an investor’s best friend.” ข่าวร้ายคือเพื่อที่ดีที่สุดของนักลงทุน
2 ประโยคที่ใช้ได้ตลอดกาลของ Warren Buffett ที่เหมาะสมที่สุดในตอนนี้ คนที่อยากเริ่มลงทุน แต่ยังไม่ได้เริ่มต้นสักที วิกฤติครั้งนี้คือโอกาสของคุณ โดยเริ่มต้นจาก Global ETF ที่เป็นพอร์ตหลัก (Core Port) ก่อนได้เลย
เพราะ Global ETF ได้กระจายความเสี่ยงลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ และประเทศชั้นนำทั่วโลก รวมถึงตราสารหนี้คุณภาพอีกมากมายให้คุณแล้ว ช่วยให้คุณสามารถคว้าโอกาสในครั้งนี้ และเริ่มต้นเส้นทางที่ดีได้ในอนาคตอย่างสบายใจ
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เราหวังว่าคุณจะได้คำตอบไปวางแผนรับมือเพื่อเป็นผู้ชนะในวิกฤติครั้งนี้
และย้ำอีกครั้งว่า เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ยังไม่มีอะไรแน่นอน เพราะแม้กระทั่ง Trump ยังส่งข่าวว่า พร้อมให้ทุกประเทศเข้ามาเจรจา
คุณสามารถฟังแนวคิดและคำแนะนำแบบเต็มๆ เพิ่มเติมจาก ผู้บริหาร Jitta Wealth ได้ใน Live: ลงทุนอย่างไร ให้ไม่แพ้ใน Trade War
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ทำได้อยู่เสมอคือ ควบคุมในสิ่งที่เราควบคุมได้ วางแผนให้ดี และคุณจะไม่แพ้ไม่ว่าจะวิกฤติไหนก็ตาม