แก้พอร์ตหุ้นติดลบ ทำยังไงให้ไม่ติดดอย

ความเสี่ยงในการลงทุน และความผันผวนเป็นอะไรที่มาคู่กับตลาดหุ้นเสมอ แต่จะมีวิธีอะไรไหม ที่จะทำให้เราสามารถเผชิญกับความผันผวนและความเสี่ยง พร้อมก้าวผ่านไปจนได้รับผลตอบแทนหรือเป้าหมายการลงทุนที่เราต้องการได้
บทความนี้จะมาพาคุณไปเรียนรู้สิ่งที่นักลงทุนไม่ชอบ แต่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอ กับอาการ ‘ติดลบ’ มาทำความเข้าใจ และเรียนรู้วิธีแก้ไขให้สามารถข้ามผ่านพอร์ตติดลบ อาการกังวลใจ ไปสู่ฝั่งฝัน
ทำไมพอร์ตถึงติดลบ?
การที่พอร์ตติดลบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากความเข้าใจผิด หรือขาดการวางแผนที่รัดกุม เช่น
- ซื้อหุ้นในช่วงที่ราคาสูงเกินมูลค่าพื้นฐาน โดยไม่ได้ศึกษาปัจจัยพื้นฐานของกิจการอย่างเพียงพอ
- ขาดการกระจายความเสี่ยง ลงทุนในหุ้นไม่กี่ตัวหรือเน้นอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งมากเกินไป
- ไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน ตัวนี้ลบก็ขายทิ้ง พอไปซื้อตัวที่กำลังขึ้นอยู่ก็พลันติดลบหลังจากนั้น
- ตัดสินใจลงทุนตามอารมณ์หรือกระแสรอบตัว โดยไม่พิจารณาเหตุผลเชิงวิเคราะห์
วิเคราะห์พอร์ตอย่างมีระบบ ก่อนเริ่มแก้ไข
การจะฟื้นพอร์ตที่ติดลบสีแดงๆ ที่ปวดใจให้กลับมาเขียว จำเป็นต้องวิเคราะห์พอร์ตอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล ไม่ใช่แค่รู้สึกว่า ‘ขาดทุน’ จึงต้องขายหรือซื้อเพิ่ม
- ตรวจสอบว่าหุ้นตัวใดที่ยังมีพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีแนวโน้มฟื้นตัวตามสภาวะเศรษฐกิจ
- วิเคราะห์การกระจายพอร์ตว่ามีการกระจุกตัวในหุ้นกลุ่มเดียวหรือไม่
- ประเมินราคาทุนของหุ้นแต่ละตัว เปรียบเทียบกับราคาตลาดและโอกาสเติบโตในอนาคต
- แยกแยะระหว่างหุ้นที่ควรถือต่อกับหุ้นที่ควรตัดขาดทุน
เมื่อคุณวิเคราะห์ได้แบบนี้แล้ว ก็จะสามารถดำเนินการแก้ไขได้ตรงจุด และลดการตัดสินใจผิดพลาดเวลามีข่าวร้ายเข้ามากระทบพอร์ต
เพราะเมื่อมีข่าวร้ายนักลงทุนตื่นตระหนกเป็นวงกว้างทำให้ราคาหุ้นตกลงมาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น พอข่าวเริ่มซา ราคาก็จะดีดตัวกลับได้ไว การหลับหูหลับตาขายอาจทำให้ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง

กลยุทธ์แก้พอร์ตหุ้นติดลบที่ควรรู้
Dollar-cost Averaging (DCA) อย่างมีแผน
การทยอยซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อเฉลี่ยต้นทุน เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้พอร์ตฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยให้คุณไม่พลาดโอกาสเมื่อตลาดกลับตัว ในขณะที่ตลาดผันผวนหุ้นราคาตก หากพิจารณาแล้วว่าหุ้นที่ถืออยู่ยังมีพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตในอนาคต ก็สามารถ DCA ต่อไปได้เลย
ปรับพอร์ตใหม่ (Rebalance)
การปรับสัดส่วนการลงทุนในพอร์ต ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นตัว เช่น
- ลดสัดส่วนหุ้นที่มีแนวโน้มไม่ฟื้นตัว
- เพิ่มน้ำหนักในหุ้นกลุ่มที่มีศักยภาพ เช่น หุ้นเติบโตหรือหุ้นปันผล
- กระจายการลงทุนในกองทุนหรือ ETF แทนการถือหุ้นรายตัวมากเกินไป
การปรับพอร์ตสม่ำเสมอจะช่วยคงสัดส่วนของพอร์ตให้เป็นไปตามกลยุทธ์ตั้งต้นที่วางไว้ และเป็นการทบทวนกลยุทธ์การลงทุนให้ทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ
เช่น การลงทุนใน Global ETF ของ Jitta Wealth ที่มีระบบปรับพอร์ตอัตโนมัติ เมื่อสัดส่วนระหว่าง ETF หุ้นและ ETF ตราสารหนี้ เปลี่ยนแปลงเกิน 5% เพื่อที่เวลาหุ้นตกจะได้ขายพันธบัตรมาช้อนซื้อหุ้นที่ราคาถูก และเมื่อหุ้นขึ้น ก็จะได้ขายหุ้นบางส่วนเพื่อทำกำไรและนำไปถือพันธบัตรที่ความเสี่ยงต่ำกว่า
ใช้ ETF เพื่อลดความเสี่ยงจากการเลือกหุ้นผิด
หากไม่มั่นใจในการเลือกหุ้นรายตัว การลงทุนใน ETF ที่กระจายการลงทุนในดัชนีตลาดหรือกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถลดความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่
Cut Loss อย่างมีหลักการ
การขายหุ้นที่ขาดทุนเพื่อหยุดความเสียหาย ไม่ใช่ความล้มเหลว หากทำโดยมีเหตุผล เช่น หุ้นไม่มีแนวโน้มฟื้นตัว หรือมีปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนแปลงในทางลบอย่างถาวร
แต่ไม่ควรรีบขายแค่เพราะว่าหุ้นตัวนั้นติดลบ เพราะบางครั้งการติดลบนั้นอาจมาจากข่าวร้ายเพียงระยะเวลาสั้นๆ ที่ทำให้ราคาตกลงมา ทั้งๆ ที่พื้นฐานหุ้นยังแข็งแกร่งธุรกิจยังเติบโตได้ดี
จัดพอร์ตยังไงไม่ให้ติดดอยอีก
พอร์ตที่ดีต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวางแผนและกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยอาจใช้แนวคิดการจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite
- พอร์ตหลัก (Core Port) ลงทุนในสินทรัพย์เสถียร เช่น ETF หรือกองทุนรวมดัชนี เช่น นโยบาย Global ETF ของ Jitta Wealth ที่กระจายความเสี่ยงลงทุนหุ้นทั่วโลก และตราสารหนี้คุณภาพดีมากมายผ่าน ETF
- พอร์ตรอง (Satellite Port) ลงทุนในหุ้นหรือธีมที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงขึ้น บนความเสี่ยงที่มากขึ้นได้ เพราะมีพอร์ตหลักรองรับไม่ให้การลงทุนโดยรวมผันผวนมากนัก
นอกจากการจากพอร์ตแบบ Core & Satellite แล้วสิ่งที่ควรทำก็คือ
- กำหนดเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
- ประเมินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก่อนเลือกสินทรัพย์
- ใช้หลัก Asset Allocation กระจายการลงทุนระหว่างสินทรัพย์ต่างๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก
ความผันผวน วิกฤติหรือข่าวร้ายต่างๆ เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่เราสามารถวางกลยุทธ์และบริหารจัดการพอร์ตเพื่อรับมือเหตุการณ์เหล่านั้นได้ และความสำเร็จในการลงทุนระยะยาวมักมาจากวินัย การวางแผน และการตัดสินใจที่ดี
ไม่มีนักลงทุนคนใดที่ไม่เคยขาดทุน ความแตกต่างอยู่ที่ว่าใครสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาด และปรับกลยุทธ์เพื่อกลับมาแข็งแกร่งกว่าเดิมได้ การฟื้นพอร์ตต้องอาศัยความเข้าใจ วินัย และการวางแผนอย่างรอบคอบ เมื่อคุณปรับพื้นฐานเหล่านี้ได้ การลงทุนครั้งต่อไปจะไม่ใช่การหวังโชค แต่คือการสร้างโอกาสอย่างมีระบบ