Skip to content - ข้ามไปที่เนื้อหา
Blog

4 วิธีจัดพอร์ตลงทุนธีมเมกะเทรนด์ ETF ทำแล้วดี ทำตามได้


Thematic

ตั้งแต่ช่วง Covid-19 มา หุ้นเมกะเทรนด์อย่างหุ้นเทคฯ หุ้นพลังงานสะอาด หุ้น AI ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก เพราะดูเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอีกเยอะมาก

ด้วยความสนใจท่วมท้นที่นักลงทุนมอบให้ ทำให้หุ้นธุรกิจเหล่านี้พุ่งขึ้นไปสูงมาก ในช่วงปี 2563-2565 ที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นช่วงที่นโยบาย Thematic ของเราเพิ่งเปิดตัวพอดิบพอดี…

หลังจากนั้น ก็เป็นธรรมดาของตลาดหุ้น ที่เมื่อพุ่งขึ้นแรง ก็ย่อมตกลงมาแรงเช่นเดียวกัน

แม้จะเป็นธุรกิจเมกะเทรนด์ทรงดี งบสวย กำไรกระฉูดแค่ไหน ก็ไม่สามารถประคองราคาให้สูงตลอดไปได้ ต้องมีวันปรับฐานลงมา เพื่อเก็บแรงพุ่งขึ้นใหม่

นั้นคือสิ่งที่นักลงทุนที่ลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ในช่วงปี 2563-2564 เผชิญมาบ้าง 

พอร์ตธีมเมกะเทรนด์ที่ผันผวน มีทั้งช่วงที่บวกแรงและติดลบ นักลงทุนที่ลงทุนอยู่ก็อาจจะอยากปรับปรุงหาทางจัดพอร์ตให้ดีขึ้น หรือใครที่กำลังจะลงทุนธีมเมกะเทรนด์ อาจจะอยากได้ไอเดีย ไปเตรียมจัดพอร์ตให้เหมาะสม 

วันนี้ Jitta Wealth มี 4 ไอเดียลงทุนธีมเมกะเทรนด์ตามหลักการลงทุนระยะยาวที่ถูกต้อง มาให้คุณลองพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับตัวคุณเอง อ่านได้ในบทความนี้เลย  

อ่านจบแล้วถ้าอยากปรึกษาเพิ่มเติม ก็สามารถทักทีมงานมาได้ที่ Line @JittaWealth 

ย้อนภาพรวมการลงทุน Thematic 

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2563 ปีแรกๆ ที่ Jitta Wealth เปิดตัวนโยบาย Thematic DIY เป็นช่วงเดียวกันที่ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นจากนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ยเหลือ 0% บวกกับการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอีก 

แม้ว่าจะเจอวิกฤติ Covid-19 แต่ก็มีธีมเมกะเทรนด์จำนวนมากที่ได้รับอานิสงส์เหล่านี้จนปรับตัวพุ่งแรงเช่นกัน

ไล่มาจนถึงปี 2565 วิกฤติเงินเฟ้อก็เกิดขึ้น จากปกติที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2-3% แต่ปีนั้นปรับขึ้นสูงไปถึง 9% ทำให้สหรัฐฯ ต้องปรับเปลี่ยนมาตรการ หยุดการกระตุ้นเศรษฐกิจและเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มีนาคม 2565 เป็นต้นมา 

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการปรับมาตรการในปี 2565 นั้น กระทบกับบริษัทเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์อย่างมาก

เพราะเมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น แสดงว่าค่าใช้จ่ายของบริษัทก็สูงขึ้น ทำให้กำไรก็หดหาย นักลงทุนก็ไม่อยากจะลงทุนในตลาดหุ้น ย้ายเงินลงทุนไปลงทุนตราสารหนี้แทน 

สุดท้ายก็กระทบกับราคาหุ้น หุ้นเทคโนโลยีปรับตัวลดลงและกระทบกับธีมเมกะเทรนด์ต่างๆ ทำให้เป็นไปได้ว่า ถ้าคุณลงทุนในช่วง 2563-2564 ช่วงที่ธีมเหล่านั้นพุ่งขึ้นแรง เมื่อถึงปีต่อๆ มา ธีมเมะกะเทรนด์เหล่านั้นก็ปรับตัวลดลงตามทิศทางของตลาด 

แต่ถ้าถามว่าแล้วตอนนี้ แนวโน้มมันจะเป็นอย่างไรต่อ จะขึ้นต่อหรือลงต่อ…ธีมที่ถืออยู่จะฟื้นได้หรือยัง

ในปัจจุบันก็ต้องบอกว่า มีข่าวดี! ธีมเมกะเทรนด์ต่างๆ ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นจากนโยบายทางการเงินสหรัฐฯ 

หากดูผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีแบบเฉลี่ยทุกธีมเมกะเทรนด์ที่ Jitta Wealth เปิดให้ลงทุนอยู่จะอยู่ที่ +13.50% และหากย้อนไปไกลขึ้นอีก เป็น 2 ปีก็จะอยู่ที่ +20.76%

ยิ่งเป็นพอร์ต Thematic DIY ที่มีส่วนผสมเฉพาะตัว นักลงทุนแต่ละคนเลือกธีมที่แตกต่างกัน แต่ละธีมก็ใช้เวลาในการไต่ขึ้นต่างกัน แต่ละพอร์ตก็มีความเร็วในการฟื้นตัวต่างกัน และในระยะยาวธีมต่างๆ ก็จะฟื้นตัวในที่สุด

ธรรมชาติของตลาดหุ้นย่อมมีขึ้นมีลง การวางแผน วางกลยุทธ์ในการลงทุนจึงสำคัญไม่แพ้การเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน แล้วถ้าลงทุนธีมเมกะเทรนด์อยู่ควรปรับพอร์ตอย่างไรได้บ้าง หรือหากกำลังจะลงทุน จะสามารถเตรียมตัวจัดพอร์ตให้เหมาะสมได้ด้วยวิธีไหนบ้าง อ่านต่อได้เลย  

 ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2568

วิธีที่ 1 ลงทุนอยู่ อยากปรับพอร์ตให้ดีขึ้น

นักลงทุนที่ลงทุนในธีมเมกะเทรนด์หรือมีพอร์ต Thematic DIY อยู่แล้ว ต้องการจะปรับพอร์ตที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิม 

แนวทางลงทุน: พิจารณาพอร์ต Thematic DIY ที่มีอยู่ของคุณ แล้วปรับพอร์ตของคุณให้เหมาะสมขึ้น

ด้วยคำถามง่ายๆ เหล่านี้ 

  • คุณกระจายความเสี่ยงในพอร์ต Thematic DIY ของคุณเหมาะสมแล้วหรือยัง?
  • ธีมที่ลงทุนอยู่ทั้งหมดมีธีมอะไรบ้าง มีทิศทางขึ้นลงไปในทางเดียวกันหรือเปล่า? 

ย้อนกลับไปตอนที่เราเลือกธีมลงทุนใน Thematic DIY ใหม่ๆ เราอาจจะเลือกลงทุนพอร์ตละธีม หรือพอร์ตละ 1-3 ธีม หรืออาจจะเลือกธีมที่มีทิศทางการขึ้นลงไปในทางเดียวกันไปหมด 

ทำให้เวลาตลาดลงหนัก ธีมเหล่านั้นก็พากันร่วงไปพร้อมๆ กัน พาใจเสีย และคุณอาจจะเดินออกจากสนามไปก่อนช่วงเวลาที่เหมาะสม 

ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นหน่อย ก็เหมือนกับทำไร่แล้วปลูกผลไม้อยู่ชนิดเดียว พอถึงฤดูกาลออกดอกออกผล ก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่พอหมดฤดูก็จะเงียบเหงาหน่อย 

แต่ถ้าเราใช้ไร่ที่เรามี ปลูกผลไม้ที่หลายหลาย เติบโตให้ผลผลิตต่างกันแต่ละฤดู ไร่เราก็จะมีรายได้ทั้งปีเลย…. 

ซึ่งก็คล้ายๆ กับการกระจายความเสี่ยงในพอร์ต Thematic DIY ที่ยิ่งกระจายความเสี่ยง ก็ดีกว่าเลือกลงทุนในพอร์ตที่มีธีมเดียว

เพราะนอกจากการกระจายความเสี่ยงแล้ว Jitta Wealth ยังมีระบบรีบาลานซ์พอร์ตแบบอัตโนมัติ เมื่อสัดส่วนธีมปรับเปลี่ยนเกิน 5% แสดงว่า ถ้าคุณลงทุนพอร์ตละธีม พอร์ตนั้นของคุณก็จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบนี้เลย

ซึ่งการกระจายความเสี่ยงและการรีบาลานซ์สำคัญมาก เพราะเป็นส่วนช่วยทำให้จุดขาดทุนสูงสุดของคุณน้อยลง อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความนี้ 

ในบทความจะเปรียบเทียบให้คุณเห็นว่า การลงทุนแบบ 5 พอร์ต พอร์ตละ 1 ธีม กับ 1 พอร์ตรวม 5 ธีม นั้นให้ผลลัพธ์แตกต่างกัน 

  • 5 พอร์ต พอร์ตละ 1 ธีม ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ +47.67% 
  • 1 พอร์ตรวม 5 ธีม ทำผลตอบแทนรวมได้ที่ +48.92% 

ตัวเลขผลตอบแทนอาจจะดูไม่แตกต่าง  แต่ที่แตกต่างกันสุดๆ คือ จุดขาดทุนสูงสุด ที่คุณจะเจอในการลงทุนพอร์ตนั้นๆ ของคุณ 

  • 5 พอร์ต พอร์ตละ 1 ธีม จุดขาดทุนสูงสุด -17.72% ถึง -45.22% 
  • 1 พอร์ตรวม 5 ธีม จุดขาดทุนสูงสุดอยู่ที่ -26.07% 

การปรับพอร์ต เป็นสิ่งที่นักลงทุนหลายคนมองข้ามไป ซึ่งการรีบาลานซ์จะเป็นการปรับสัดส่วนของทุกธีมในพอร์ตให้อยู่เท่าๆ กันเสมอ 

ทำให้เมื่อธีมไหนพุ่งขึ้นเยอะ ก็ได้ขายทำกำไรบางส่วน เอากำไรไปซื้อธีมอื่นๆ ที่ยังไม่พุ่งหรือยังถูกมาก ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่ถูกต้อง 

ถ้าวิธีนี้เป็นวิธีที่คุณอยากจะลองทำ สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมเพื่อพิจารณาพอร์ตที่มีอยู่ของคุณ เลือกธีมที่เหมาะสมกับพอร์ตของคุณเพิ่มเติม เพื่อการกระจายความเสี่ยงให้ถูกต้อง 

หรือถ้ามีธีมในใจแล้วก็สามารถเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองในแอป Jitta Wealth ได้เลย คุณสามารถเปลี่ยนได้ 1 ครั้งต่อ 1 ไตรมาส โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนแปลง 

วิธีที่ 2 อยากลงทุนธีมเมกะเทรนด์ ให้สบายใจขึ้น

ลงทุนใน Thematic DIY อยู่แล้ว หรือกำลังวางแผนลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ แล้วอยากลงทุนให้สบายใจขึ้น

แนวทางลงทุน: ลงทุนเพิ่มใน Global ETF กระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงน้อยกว่า เพื่อพอร์ตโดยรวมที่อุ่นใจมากขึ้น 

เมื่อต้องทำอะไรแบบไม่มีทางเลือก มันรู้สึกใจหาย ไม่มั่นใจ แต่ถ้าเรามีแผนสำรองเอาไว้บ้าง เราก็จะรู้สึกได้ว่า ไม่เป็นอะไร ถ้าแผนแรกไม่ผ่าน แผนต่อมาเราเตรียมเอาไว้แล้ว  

ทำอะไรแบบมีแผนสำรองไว้ อุ่นใจกว่าเสมอ เช่นเดียวกัน การลงทุนและการกระจายความเสี่ยง เรียกได้ว่าเป็นของคู่กัน กลยุทธ์ Core & Satellite ก็เป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย 

เพราะเป็นการกระจายเงินไปลงทุนอะไรที่ความเสี่ยงต่ำลงมาหน่อย ให้เป็น ‘พอร์ตหลัก’ หรือ Core ช่วยเสริมเสถียรภาพให้การลงทุนโดยรวมของคุณไม่ผันผวนมากเกินไป ในช่วงที่พอร์ตเมกะเทรนด์ ผลงานไม่ค่อยดี ก็ยังมีตัว Core นี้พาเงินลงทุนคุณไปต่ออยู่

คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ Core & Satellite ได้ที่นี่ อธิบายแบบย่อๆ ก็คือ การบริหารความเสี่ยงโดยการแบ่งพอร์ตออกเป็น 2 ส่วน โดยทำหน้าที่ต่างกัน

  • พอร์ต Core (พอร์ตหลัก) ที่จะเป็นรากฐานของการลงทุน เน้นการเติบโตระยะยาว เน้นความแข็งแกร่ง ในสินทรัพย์ที่ไม่หวือหวา 
  • พอร์ต Satellite (พอร์ตรอง) โครงสร้างต่อเสริม เพื่อบูสต์การเติบโตในพอร์ตโดยรวม เน้นคว้าโอกาสทำกำไรที่สูงขึ้น แต่ก็เสี่ยงมากขึ้น

ตัวอย่างสัดส่วนของพอร์ตสำหรับนักลงทุนที่อยากกระจายความเสี่ยงเพิ่ม และยากถือพอร์ต Thematic DIY ที่มีอยู่ต่อ คือ สัดส่วน 80:20 โดยมีสัดส่วนดังนี้ 

  • พอร์ต Core 80%: ให้คุณเริ่มต้นลงทุนหรือเพิ่มทุนในนโยบาย Global ETF 
  • พอร์ต Satellite 20%: พอร์ต Thematic DIY ที่คุณจะถือต่อไป 

ด้วยกลยุทธ์และสัดส่วนดังกล่าวจะทำให้พอร์ตโดยรวมของคุณเติบโตขึ้น คุณเองก็จะสบายใจในการลงทุนมากขึ้น รอให้ธีมเมกะเทรนด์อนาคตไกลทำงาน ในขณะเดียวกันก็ยังมี Global ETF ที่ค่อยๆ เติบโตให้คุณอยู่ในสนามลงทุนระยะยาวแบบสบายใจมากขึ้น

คำนวณสัดส่วนเงินลงทุนให้เหมาะสมตามกลยุทธ์ Core & Satellite ที่นี่

วิธีที่ 3 รู้สึกว่าธีมเมกะเทรนด์เสี่ยงเกินไป ลงทุนแบบนี้แทน

ไม่อยากลงทุน Thematic DIY แล้ว รับความเสี่ยงไม่ได้ อยากลงทุนให้สบายใจขึ้น 

แนวทางลงทุน: ย้ายเงินไปลงทุน Global ETF ลองลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศที่จัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงให้แล้ว ความเสี่ยงน้อยกว่า แต่สบายใจขึ้น  

“อยากลงทุน ให้ถามความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้” ถือเป็นประโยคหนึ่งที่คลาสสิก ที่เราเชื่อว่านักลงทุนหลายคนเคยได้ยิน ซึ่งความเสี่ยงของคนเรา สามารถเพิ่มขึ้นและลดลงได้เหมือนกัน 

ยกตัวอย่างเช่น สมัยวัยรุ่น เริ่มทำงานใหม่ๆ ยังมีเวลาในการทำงานหาเงินอยู่ ถ้าลงทุนในช่วงนั้น หลายคนก็อาจจะเลือกสินทรัพย์ที่เสี่ยงได้มากหน่อย เพราะยังผิดพลาดได้อยู่ 

แต่พออายุมากขึ้น อาจจะเข้าใกล้ช่วงเวลาที่อยากเกษียณมากขึ้นเรื่อยๆ ความเสี่ยงในเงินที่ลงทุนมาอาจจะลดลงได้ คุณก็อาจจะขยับขยายพอร์ตลงทุนไปอยู่ในสินทรัพย์ที่เสี่ยงน้อยลงหน่อย มากขึ้นได้ 

เช่นเดียวกับการลองสนามลงทุน ได้ชิมลางความเสี่ยงแล้ว แต่…ในเวลาต่อมาได้เรียนรู้ว่า…เราอาจจะไม่เหมาะกับการลงทุนในความเสี่ยงที่สูงระดับนี้

ไม่เป็นไรเลย เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้เสมอ ในโลกของการลงทุนมีตัวเลือกมากมายรวมไปถึงกลยุทธ์ที่ใช้ได้จริง Global ETF ก็เป็นหนึ่งในนั้น

Global ETF หนึ่งในนโยบายลงทุนที่นักลงทุน Jitta Wealth ประทับใจ ยกให้เป็นพอร์ตลูกรักด้วยกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตเพื่อผลตอบแทนที่ดีที่สุด ในความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด ตามทฤษฎีจัดพอร์ตรางวัลโนเบล กระจายความเสี่ยงในกองทุน ETF หุ้นและตราสารหนี้คุณภาพดีทั่วโลก 

ผลตอบแทนคาดหวังของ Global ETF จะอยู่ที่ 4-8% ตามแผนลงทุนย่อยๆ ที่คุณเลือกได้ตามความเสี่ยงที่คุณรับได้ หากต้องการย้ายนโยบายลงทุน คุณสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ทาง Line: @JittaWealth ได้เลย 

วิธีที่ 4 อยากปรับพอร์ตธีมเมกะเทรนด์ แบบให้ AI ช่วยเลือก

อยากลงทุนใน Thematic ETF ต่อ แต่ก็อยากปรับย้ายธีมลงทุน แล้วไม่รู้จะลงธีมอะไรดี 

แนวทางลงทุน: ย้ายเงินไปลงทุน Thematic Optimize ให้ AI ช่วยเลือกธีมที่ดีที่สุดให้ ไม่ต้องคอยปรับเปลี่ยนเอง  

ถ้าธีมที่คุณลงทุนอยู่ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แล้วคุณก็ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปลงทุนธีมอะไรดี Jitta Wealth ก็มี AI ของ Thematic Optimize ช่วยคุณวิเคราะห์คัดเลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุดในตอนนั้นให้ 

แถมยังปรับพอร์ตอัตโนมัติให้ทุกๆ 3 เดือน เพื่อให้การลงทุนธีมเมกะเทรนด์ของคุณทันเหตุการณ์อยู่เสมอ 

และด้วยข้อมูลล่าสุดตั้งแต่ต้นปี 2567 ถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนเฉลี่ยพอร์ตจริงของนักลงทุน Thematic Optimize ก็สูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยพอร์ตจริงของนักลงทุน Thematic DIY ด้วย โดย 

  • ผลตอบแทนเฉลี่ยพอร์ตจริงนักลงทุน Thematic Optimize อยู่ที่ +11.47% 
  • ผลตอบแทนเฉลี่ยพอร์ตจริงนักลงทุน Thematic DIY อยู่ที่ +6.88%

ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2567 

ถ้าอยากเปลี่ยนนโยบายจาก Thematic DIY ไปเป็น Thematic Optimize ก็สามารถติดต่อทีมงานใน Line: @JittaWealth ได้เลย

และนี่คือ 4 วิธีจัดการพอร์ตธีมเมกะเทรนด์ที่ Jitta Wealth รวบรวมมาให้ คุณเป็นนักลงทุนกลุ่มไหนกันบ้าง และจะจัดการพอร์ต Thematic DIY ของคุณอย่างไรต่อไป?

ไม่มีถูกไม่มีผิด มีเพียงกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับคุณที่สุด เพื่อให้คุณสามารถลงทุนต่อไปได้อย่างสบายใจ และได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างที่คาดหวังเท่านั้น 

การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าจะเป็นนักลงทุนระดับเทพแค่ไหน ก็ทำกันทั้งนั้น

แต่สิ่งที่สำคัญคือ การถามตัวเองให้ละเอียด เข้าใจว่าเราต้องการลงทุนแบบไหน อย่างไร เพื่อหาสินทรัพย์ที่เหมาะสม กลยุทธ์ที่ถูกจริต ที่จะทำให้คุณอยู่ในสนามลงทุนได้อย่างต่อเนื่อง สบายใจในระยะยาว 

หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาแบ่งปันกันวันนี้ จะช่วยให้คุณเห็นภาพชัดขึ้นพร้อมแนวทางปฎิบัติที่ทำได้จริงและเหมาะสมกับคุณ 

แต่ถ้าคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการย้ายพอร์ตการลงทุน คุณสามารถปรึกษาและสอบถามทีมงานของเราได้ทาง Line: @JittaWealth โทร 02-460-8888 หรือนัดหมายเพื่อปรึกษาฟรี! ได้เลย